เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

เรื่องทั่วไปในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์ พระไตรปิฎก
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระไตรปิฎกฉบับอักษรโรมัน (Roman Script Edition) มีที่มาอย่างไร N207
 

(ย่อ)

ที่มา Roman Script Edition
พ.ศ. 2542 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค นางสนอง พระโอษฐ์ในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้รับการบอกบุญจากต่างประเทศให้อุปถัมภ์การพิมพ์พระไตรปิฎก ที่เป็น พระพุทธพจน์ ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน (Roman Script)

พระไตรปิฎกที่ใช้เป็นต้นแบบมาจากไหน
ในวโรกาสที่รัชกาลที่9 เสด็จเยือนประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ. 2503 ประธานาธิบดีพม่าได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎก ฉบับฉัฏฐสังคีติชุด 40 เล่ม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระไตรปิฎก ปาฬิ ฉบับนี้ ได้รับการยกย่องว่า เป็นพระไตรปิฎกที่เป็นมาตรฐานในระดับนานาชาติ ของพระพุทธศาสนาเถรวาททั่วโลก

พระไตรปิฎกฉบับ Roman Script ใช้เวลาจัดทำนานแค่ไหน
มีการตรวจสอบ ตรวจทาน เปรียบเทียบด้านภาษาหลายครั้ง และจากหลายแหล่ง และจัดพิมพ์ เป็นฉบับ อักษรโรมันชุดสมบูรณ์ เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2548 และปรับปรุงเป็นสัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet) พ.ศ. 2562 มีชื่อว่า พระไตรปิฎกฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 ซึ่งโครงการ พระไตรปิฎกสากล จัดพิมพ์ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

องค์กรในประเทศและสถาบันต่างประเทศที่ได้รับพระราชทาน
- ศาลรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
- ศาลฎีกา แห่งราชอาณาจักรไทย
- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
- สถาบันต่างๆ รวม 18 สถาบัน ในประเทศญี่ปุ่น
- ประเทศเมียนมาร์
- และ 160 สถาบัน ใน 25 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ

ศึกษาเปรียบเทียบ Pali Roman - ฉบับหลวง - บาลีอักษรไทย ฯลฯ คลิก

ศึกษาเพิ่มเติม (ลิ้งค์)
- พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน
- มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล - World Tipiṭaka Foundation
- สมเด็จพระสังฆราชกับพระไตรปิฏกสากล
- คณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ที่มา เว็บไซต์ สัจฌายะ : https://www.sajjhaya.org/node/13muj,k2


กำเนิด


         กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆ ราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (ปัจจุบัน ดำเนินงาน โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ตั้งแต่ พ.ศ. 2555) ได้ริเริ่มโครงการ พระไตรปิฎกสากล ใน พ.ศ. 2542 เนื่องจากท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค นางสนอง พระโอษฐ์ในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ได้รับการบอกบุญ จากต่างประเทศให้อุปถัมภ์การพิมพ์ พระไตรปิฎก ซึ่งบันทึก พระพุทธพจน์ ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยจัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน (Roman Script)

พระไตรปิฎกปาฬิ ชุดสมบูรณ์ 40 เล่ม ที่จัดพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ตามการสังคายนา สืบทอดเป็น ปาฬิภาสา (Pāḷi Bhāsā หรือเดิมเรียกกันว่า ภาษาบาลี) ใน พระพุทธศาสนา เถรวาท ตลอดระยะเวลากว่า 25 พุทธศตวรรษ ชุดนี้ ยังมิเคยมีการ จัดพิมพ์เป็น อักษรโรมันชุดสมบูรณ์มาก่อน ณ ที่ใดในโลก


ต้นฉบับปาฬิ

ต้นฉบับพระไตรปิฎก ปาฬิ ฉบับนี้ รู้จักกันโดยทั่วไปว่า พระไตรปิฎกฉบับ ฉัฏฐสังคีติ (Chaṭṭhasaṅgīti Tipiṭaka Edition) พิมพ์เสียงปาฬิด้วยอักษรพม่า เป็นผลงาน การประชุม สังคายนาระดับนานาชาติครั้งเดียวของโลก ซึ่งพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผู้ทรงความรู้พระไตรปิฎกปาฬิ จากนานาชาติทั่วโลก ได้ประชุมออกเสียงสวดเป็น ปาฬิภาสา และบันทึกเป็นพระไตรปิฎก อักษรพม่า ณ นครย่างกุ้ง ระหว่าง พ.ศ. 2496-2500

ประมุขพุทธมามกะ และผู้แทนรัฐบาลต่างๆ ได้แสดงความยินดี ถึงความสำเร็จ ในการประชุม สังคายนานานาชาติ ดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จฯไปทรงร่วมอนุโมทนา ณ สถานที่สังคายนา ในวโรกาสที่เสด็จเยือนประเทศพม่าอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2503 ในการนี้ ประธานาธิบดีพม่าได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎก ฉบับฉัฏฐสังคีติชุด 40 เล่ม (ดูภาพปกสีแดง) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระไตรปิฎกปาฬิฉบับนี้ ได้รับการยกย่องว่า เป็นพระไตรปิฎกที่เป็นมาตรฐาน ในระดับนานาชาติ ของ พระพุทธศาสนาเถรวาททั่วโลก

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 ผู้ทรงเป็นผู้แทนผู้เชี่ยวชาญ พระไตรปิฎก ปาฬิ จากประเทศไทย ได้ทรงเข้าร่วม การประชุมสังคาย นานานาชาติ พ.ศ. 2500 และในการตรวจทานเพื่อจัดพิมพ์ใหม่ ใน พ.ศ. 2542 ได้ทรงมีพระบัญชาประกาศแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจทาน และ จัดพิมพ์ ในโครงการพระไตรปิฎกสากล โดยได้ประทานชื่อพระไตรปิฎก ชุดที่จัดพิมพ์ใหม่ เป็นอักษรโรมัน ว่า Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500 และชื่อเป็น ภาษาไทยว่า พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับมหาสังคายนาสากล นานาชาติ พ.ศ. 2500 พิมพ์อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 (The Buddhist Era 2500 Great International Council Pāḷi Tipiṭaka, Roman Script 2005)

ในการจัดเตรียมต้นฉบับอักษรโรมัน โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ทำการค้นคว้า หาต้นฉบับ ชุดเดียวกับที่ประธานาธิบดีพม่า ได้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคาดว่าพิมพ์หลังการสังคายนา พ.ศ. 2500 พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับต้นฉบับ ยกร่าง ที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงนำกลับมาจากประเทศพม่า พิมพ์ พ.ศ. 2498 และ

อีกฉบับหนึ่งจากมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ ซึ่งทำสำเนามาจาก พระธัมมานันทะ มหาเถระ เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง สันนิษฐานว่าพม่าจัดพิมพ์ ในปีที่จบการ สังคายนา พ.ศ. 2500 เพื่อเป็นหลักฐาน ของการจบงานสังคายนา (ดูรายละเอียด ต้นฉบับอักษรพม่า ในคำนำพระไตรปิฎกสากล โดยสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต)

นอกจากนี้ยังได้ใช้ข้อมูลบางส่วน ของต้นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 2 แหล่ง ซึ่งรวมฉบับ อิเล็กทรอนิกส์ จากสถาบันวิจัยวิปัสสนา VRI ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้รับมอบเป็นธัมมทานจากท่าน เอส เอ็น โกเอ็นก้า เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น

การตรวจทาน

ในการดำเนินงานคณะกรรมการตรวจทาน ได้พบว่าทั้งข้อมูลฉบับพิมพ์ และข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ยังมีข้อบกพร่องและมีการพิมพ์ผิดพลาด ซึ่งได้ทำ เครื่องหมาย ข้อแตกต่างที่สำคัญ รวมจำนวนประมาณ 40,000 ตำแหน่ง เพื่อแก้ไข นอกจากนี้ในต้นฉบับอักษรพม่าเล่มที่ 39-40 คณะกรรมการตรวจทานยังพบว่า พระไตรปิฎก อักษรพม่า ที่พิมพ์ขึ้นภายหลังการสังคายนา มิได้พิมพ์ตามมติของ คณะสงฆ์ เพราะในบทหมายเหตุ หรือ วิญญาปนัง (viññapanaṁ) กล่าวไว้ว่า มิได้จัดพิมพ์รายละเอียด ที่เรียกว่า สังขยาวาระ (saṅkhayāvāra) (เลขจำนวน องค์ธัมม์) ดังนั้นโครงการพระไตรปิฎกสากล จึงต้องดำเนินการตรวจทาน ต้นฉบับ ใหม่ทั้งหมด 3 ครั้ง โดยตรวจสอบกับฉบับอื่นๆ (ดูการอ้างอิงเลขหน้ากับฉบับอื่นๆ ที่สำคัญของโลก 12 ฉบับ) ด้วยวิธีพิเศษ คือ การออกเสียงปาฬิ ด้วยการอ่าน สัชฌายะ (Pāḷi Recitation) โดยผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก จากมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบการพิมพ์เสียง ปาฬิตามต้นฉบับ และ แก้ไขคำพิมพ์ผิดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ รวมทั้ง สังขยาวาระ ดังกล่าวด้วย รวมจำนวนแก้ไขเพิ่มเติม ในพระไตรปิฎกปาฬิ ทั้งชุด 40 เล่ม ที่ตรวจทานแล้ว มีจำนวนคำทั้งสิ้น 2,708,706 คำ หรือ 9,442,442 พยางค์ หรือ 20,606,104 อักษรโรมัน ใช้เวลาดำเนินการรวม 6 ปี

กล่าวโดยสรุป จากการตรวจทาน ต้นฉบับฉัฏฐสังคีติ อักษรพม่า พ.ศ. 2500 และ ต้นฉบับ อิเล็กทรอนิกส์ที่องค์กรต่างๆ ได้ปริวรรตจาก อักษรพม่า เป็น อักษรโรมัน และ อักษรไทย โดยเผยแผ่ในระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน เช่น สถาบัน VRI ที่อ้างอิงกับ ฉบับฉัฏฐสังคีติ พ.ศ. 2500 และ เว็บไซต์พระไตรปิฎก 84000.org ที่อ้างอิงกับฉบับสยามรัฐ พ.ศ. 2470 นั้น ก็ยังมีเนื้อหาไม่แม่นตรงกับ ฉบับ ฉัฏฐสังคีติ พ.ศ. 2500 หรือ ฉบับสังคายนานานาชาติที่เป็นมาตรฐานของโลก ซึ่งปัจจุบันได้ตรวจทานใหม่ และจัดพิมพ์เป็นฉบับอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2548 และปรับปรุงเป็นสัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet) พ.ศ. 2562 มีชื่อว่า พระไตรปิฎกฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 ซึ่งโครงการ พระไตรปิฎกสากล จัดพิมพ์ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

ข้อสรุปนี้มิได้หมายว่า พระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ ไม่ถูกต้อง แต่หมายถึงการเรียงพิมพ์ ในบางส่วนยังมีความบกพร่อง ซึ่งปัจจุบันการใช้หลักวิชาการ ทางเทคโนโลยี สารสนเทศ สามารถพิสูจน์ได้ในรายละเอียด และแก้ไขการพิมพ์ให้สมบูรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้ การสืบค้นต้นฉบับพระไตรปิฎก ประวัติการสังคายนา สำนักพิมพ์ และปีที่จัดพิมพ์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการอ้างอิง


ผลการตรวจทานและจัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน

โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้เพิ่มข้อมูลอ้างอิงเลขหน้า กับพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรต่างๆ ไม่น้อยกว่า 12 ฉบับ ของโลกจากการตรวจทาน ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในคลังพระไตรปิฎกอักษรนานาชาติกว่า 2,000 เล่ม โดยได้มอบเป็นธัมมบรรณาการแก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ ในอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่ แห่งแรก ของมหาวิทยาลัย

เพื่อสรุปผลการตรวจทานสำหรับนักวิชาการที่จะทำการศึกษาต่อไป (World Tipiṭaka Critical Apparatus) โครงการพระไตรปิฎกสากล จึงได้จัดทำเป็นข้อมูล พระไตรปิฎก ศึกษาอ้างอิง โดยเฉพาะ คำที่พิมพ์ต่างกัน (Variant Readings) แบ่งเป็น รายละเอียด ต่างๆ จำนวน 6 เล่ม ซึ่งจัดพิมพ์เป็นชุด พระไตรปิฎก อ้างอิงสากล ชุด 40 เล่ม พ.ศ. 2551

ศาสตราจารย์วิสุทธิ์ บุษยกุล ประธานโครงการพระไตรปิฎกสากล และราชบัณฑิต ร่วมกับอาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9 ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้เชิญท่าน เอส เอ็น โกเอ็นก้า ประธานสภาบันวิจัย วิปัสสนา มาร่วมประชุม และแจ้งผลการตรวจทานดังกล่าว ในโอกาสที่โครงการ พระไตรปิฎก สากล เชิญท่านมาแสดงปาฐกถาเรื่อง พระไตรปิฎก กับการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน เนื่องในวาระ 100 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2546 ต่อมาศาสตราจารย์วิสุทธิ์ บุษยกุล ได้เปิดเผยข้อมูลการตรวจทาน ของโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ของการแสดงปาฐกถาพิเศษ ในที่ประชุมทางวิชาการ ของสมาคมพระพุทธศาสนา ในระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 (International Association of Buddhist Studies XIII) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2546

งานตรวจทานที่ละเอียดประณีตนี้ สำเร็จได้ด้วย เทคโนโลยีธัมมะ คือ การใช้ เทคโนโลยี ที่เหมาะสม และพอเพียงในทางธัมมะ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ภายใต้การดำเนินงานทาง วิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้มีศรัทธา และ มีความรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท โครงการพระไตรปิฎกสากล ระหว่าง พ.ศ. 2543-2548 ได้ใช้เวลาตรวจทาน 3 ปี ประมาณ 80,000 ชั่วโมง และต่อมาอีก 2 ปี จำนวนกว่า 20,000 ชั่วโมง ในการบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อวางรูปแบบ ต้นฉบับ และจัดการพิมพ์

นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2549-2562 โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ทำการศึกษา อักขรวิธี อักษรสยาม ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 และสร้างเป็นโปรแกรม ตัดพยางค์อัตโนมัติ สิทธิบัตรเลขที่ 46390 ตลอดจนพัฒนาเป็นฐาน ข้อมูลสัททะ อักขะระปาฬิ (Phonetic Alphabet)

การควบคุมคุณภาพ ของการตรวจทาน สัมฤทธิผลได้ด้วยการบูรณาการ ระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญ สหวิชาการ ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้รับความร่วมมือ อย่างเต็มที่ จากคณะสงฆ์ ตลอดจนผู้ทรงความรู้ในวิชาการต่างๆ จากสถาบันในประเทศต่างๆ มีนวัตกรรมที่สำคัญ คือ รูปแบบใหม่ของการ จัดเก็บ ข้อมูล พระไตรปิฎก เป็นฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาสาสมัครจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกกองทุน สนทนา ธัมม์นำสุขฯ ได้พัฒนาเป็นมาตรฐานสากลขึ้นเป็นครั้งแรก

มาตรฐานผลงาน

มาตรฐานแรก มาตรฐานการพิมพ์พระไตรปิฎกสากล (Publication Standard) ได้แก่ การใช้ระบบเรียงพิมพ์ที่ทันสมัย (Latex Digital Typesetting) จัดพิมพ์พระไตรปิฎก สากลด้วยอักษรโรมัน ซึ่งเป็นอักษรสากลของโลกที่นานาชาติ สามารถอ่านออกเสียง ปาฬิ ได้

มาตรฐานที่สอง คือ มาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด ที่เป็นสากลของฐานข้อมูล พระไตรปิฎกปาฬิ (Electronic Open Standard of Pāḷi Tipiṭaka Database) ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาในเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระบบสากลต่อไปได้

มาตรฐานที่สาม คือ มาตรฐานการศึกษาพระไตรปิฎกปาฬิ ในพระพุทธศาสนา เถรวาท ได้แก่ ระบบการศึกษาพระไตรปิฎกอ้างอิงระดับนานาชาติ (International Tipiṭaka Studies Reference) ซึ่งได้นำเสนอด้วยกระบวนวิธี ที่สืบทอดมา ในพระพุทธศาสนา เถรวาท อาทิการสังคายนา และการสัชฌายะ การออกเสียงปาฬิ เป็นต้น พร้อมทั้ง ระบบ พระไตรปิฎกศึกษา ที่เรียกว่า ชุดพระไตรปิฎก อ้างอิงสากล อักษรโรมัน ซึ่งจัดพิมพ์เป็นชุด 40 เล่ม ครั้งแรกใน พ.ศ. 2551

การเผยแผ่ชุดปฐมฤกษ์เป็นพระธัมมทาน

การประกาศการดำเนินงาน โครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ได้จัดขึ้น เป็นพิเศษ ทั้งในการประชุมทางพระพุทธศาสนา และในการประชุมวิชาการระดับ นานาชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศระหว่าง พ.ศ. 2545-2546 และในปี พ.ศ. 2547 ได้ประกาศการดำเนินงานครั้งสุดท้าย อย่างเป็นทางการ ในงานปาฐกถาพิเศษ หน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ณ หอประชุมใหญ่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กรุงเทพฯ เรื่อง 112 ปี พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับจุลจอมเกล้า บรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 : พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับพิมพ์ชุดแรกของโลก เทคโนโลยี ธัมมะสู่โลก โดยคนไทย (ดู สูจิบัตร 112 ปี พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับจุลจอมเกล้า บรมธัมมิก มหาราช ร.ศ. 112 : พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับพิมพ์ ชุดแรกของโลก เทคโนโลยีธัมมะ สู่โลกโดยคนไทย)

พ.ศ. 2548 โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ชุด 40 เล่ม เพื่อเป็นพระธัมมทานจากชาวไทย แก่สถาบันในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นกุลเชษฐ์พระราชนัดดา ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาธิคุณรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ การพระราชทาน และ ประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลในนานาประเทศ และต่อมาได้พระราชทาน พระไตรปิฎก สากล ชุดปฐมฤกษ์ 3 ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์ที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ เป็นฉบับ อักษรสยาม ชื่อว่า พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 (2436) อักษรสยาม โดยได้พระราชทานแก่นานาประเทศทั่วโลก เมื่อศตวรรษที่แล้ว

การจัดพิมพ์ต้นฉบับพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรโรมัน ฉบับมหาสังคายนาสากล นานาชาติ พ.ศ. 2500 ชุดต้นแบบ ขนาดใหญ่พิเศษ ได้พิมพ์เป็นครั้งแรก โดยโครงการ พระไตรปิฎกสากล เมื่อ พ.ศ. 2545 พร้อมด้วยรายละเอียดการทำงาน 35 รายการเป็นนวัตกรรมต่างๆ ในโครงการ เป็นคู่มือประกอบ เพื่อการศึกษาวิจัย ต่อไป นอกจากนี้ยังมีจดหมายเหตุต่างๆ ได้แก่ ต้นฉบับเอกสารการตรวจทาน 4 ชุด หรือจำนวน 160 เล่ม ประมาณ 80,000 หน้า จดหมายเหตุพระไตรปิฎก อิเล็กทรอนิกส์ 220 เมกะไบท์ คลังวีดีทัศน์จดหมายเหตุ ดิจิทัลกว่า 500 ชั่วโมง หรือ 6,500 กิกะไบท์ ซึ่งได้บันทึกงานโครงการระหว่าง พ.ศ. 2542-2548 นอกจากนี้ ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560 ได้มีการบันทึก การออกเสียง ปาฬิ ในระบบดิจิทัล รวมความยาว 3,052 ชั่วโมง หรือ 1.6 เทระไบต์ และบางส่วนได้จัดทำเป็นสารคดี พระไตรปิฎก คำสอนมีชีวิต ใน พ.ศ. 2562

พระราชทานแก่ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย ศรีลังกา (ฯพณฯ จันทริกา บันดาราไนยเก กุมาราตุงคะ) ในฐานะที่ศรีลังกาเป็นประเทศ ที่จารพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก ในโลก ประดิษฐาน ณ ทำเนียบประธานาธิบดี แห่งศรีลังกา นครโคลัมโบ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2548

พระราชทานแก่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (นายผัน จันทรปาน) สำหรับ ประชาชนชาวไทย ประดิษฐาน ณ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรุงเทพมหานคร วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548

พระราชทานแก่อธิการบดี มหาวิทยาลัยอุปซาลา (ศาสตราจารย์ ซุนด์ควิสต์) สำหรับราชอาณาจักรสวีเดน ผู้แทนสถาบันในโลกตะวันตก ประดิษฐาน ณ หอแห่ง หนังสือ ห้องสมุดคาโรลีนา เรดิวีว่า ราชอาณาจักรสวีเดน วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548

ประดิษฐานพระไตรปิฎกเป็นพระธัมมทาน

หลังจากการพระราชทาน เป็นปฐมฤกษ์ พ.ศ. 2548 และเพื่อให้สาธารณชนชาวไทย ได้มีส่วนร่วมในการเผยแผ่พระธัมมทาน จึงได้มีการจัดพิธีพระราชทาน พระไตรปิฎก สากล ในประเทศไทยก่อนการอัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ไปประดิษฐาน ในนานาประเทศ เช่น พ.ศ. 2550 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ได้ขอพระราชทาน พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน สำหรับประดิษฐาน ณ สาธารณรัฐอินเดีย สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เสด็จอัญเชิญ พระไตรปิฎกสากล ไปพระราชทานแก่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎก ณ กระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 6 มีนาคม (วันพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดปฐมฤกษ์) สำหรับอัญเชิญไป ประดิษฐาน ในสาธารณรัฐอินเดียต่อไป ซึ่งต่อมาผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกชุดนี้ ไปประดิษฐาน ณ สมาคมมหาโพธิแห่งประเทศอินเดีย พุทธคยา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เป็นต้น

นโยบายการพระราชทาน พระไตรปิฎก สากลอักษรโรมัน ในต่างประเทศ

ในเอกสารการพระราชทาน พระไตรปิฎกสากล จากเลขานุการในพระองค์ สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2549 ได้ทรงกำหนดนโยบาย สำหรับการพระราชทานพระไตรปิฎกสากล เป็นลำดับแรก แก่สถาบันสำคัญนานาชาติทั่วโลก ที่ได้ขอพระราชทานมาอย่างเป็นทางการ และ จะพระราชทานแก่ สถาบันที่ส่งเสริมการศึกษาฐาน ปัญญาเพื่อสันติสุข หรือเป็น สถาบัน ที่เคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกปาฬิฉบับ ìจุลจอมเกล้า บรมธัมมิก มหาราช ร.ศ. 112 (2436) อักษรสยาม ในอดีตและปัจจุบันยังคงรักษาไว้อย่างดี

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ชุดพระราชทานไปประดิษฐาน เป็นพระธัมมทาน ณ สถาบันต่างๆ เช่น ประธานศาล รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และได้อัญเชิญไปพระราชทาน และประดิษฐาน ณ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (2550) ประธานศาลฎีกาแห่งราชอาณาจักรไทย อัญเชิญไปพระราชทาน และประดิษฐาน ณ ศาลฎีกาแห่งราชอาณาจักรไทย (2550) สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงอัญเชิญ ไปพระราชทาน และประดิษฐาน ณ สถาบันต่างๆ รวม 18 สถาบันในประเทศญี่ปุ่น (2551) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราช สาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงอัญเชิญไปพระราชทานแด่ สมเด็จพระสังฆราช แห่งประเทศเมียนมาร์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร (2554)

เนื่องด้วยพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม เป็นต้นฉบับที่ใช้อ้างอิง ในการสร้างฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) รวมชุด 80 เล่ม ในปี พ.ศ. 2560 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลนำโดย ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ได้เข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และชุด ส.ก. แด่พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ประธาน การสร้าง ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 และองค์พระบรมราชูปถัมภ์ โครงการ พระไตรปิฎก สากล พ.ศ. 2545 ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

พ.ศ. 2562 โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ปรับปรุงการพิมพ์ใหม่และทำดัชนีคำ (Index) เทียบกับสัททะอักขะระสากล (IPA) โดยอ้างอิงอักขรวิธีการออกเสียง ปาฬิ กับต้นฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งมีการจัดพิมพ์ สัททสัญลักษณ์ แสดงการแบ่งพยางค์ เสียงสะกด แยกออกจากเสียงกล้ำอย่างเด็ดขาด และชัดเจน

ระหว่าง พ.ศ. 2548-2562 โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้จัดพระราชทาน พระไตรปิฎก สากล อักขะระโรมัน เป็นพระธัมมทาน ในสมเด็จพระกรมหลวง นราธิวาส ราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์โครงการพระไตรปิฎกสากล จำนวน ไม่น้อยกว่า 160 สถาบัน ใน 25 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งหอสมุดแห่งชาติ อังกฤษ ณ กรุงลอนดอน (The British Library) ซึ่งทางประเทศอังกฤษ ได้เชิญ ท่านผู้หญิง วราพร ปราโมช ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล เป็นผู้จัด เป็นพระธัมมทาน ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อันบรรจบเป็นวันคล้ายวันสิ้น พระชนม์ ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์พระสังฆราชูปถัมภ์ โครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งปัจจุบันได้รับโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระอัฐิเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

การดำเนินงานในวาระครบรอบ 20 ปี

ปัจจุบันชุดอักษรโรมัน ได้พัฒนา เป็นฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล เพื่อสร้างเป็น นวัตกรรมการบันทึก พระไตรปิฎกสากล ซึ่งพัฒนาจากวิชาการภาษาศาสตร์ สู่ ดุริยางคศาสตร์ ที่ไม่เคยมีการจัดทำมาก่อน โดยปริวรรตการเขียนเสียง ปาฬิ จาก วิธีการถอดเสียงอย่างละเอียด (Pāḷi Phonetic Transcription) เป็น สัททะอักขะระ-ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Alphabet) และ โน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation) เรียกว่า ฉบับ สัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) ชุด ภ.ป.ร. ต้นฉบับปาฬิภาสา (Pāḷi Manuscript) ชุด 40 เล่ม และชุด ส.ก. โน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation) ชุด 40 เล่ม พ.ศ. 2559 ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณารับเป็นองค์ประธานการสร้างฉบับสัชฌายะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวาระทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พ.ศ. 2559


โน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. ปัจจุบันได้จัดพิมพ์เป็นชุดสมบูรณ์ ชุด 250 เล่ม รวม 4 เวอร์ชั่น และได้ใช้ในการบันทึกเสียงในระบบดิจิทัล โดยผู้เชี่ยวชาญทางดุริยางค์ และไวยากรณ์การออกเสียงในพระไตรปิฎก เพื่อผลิตเป็น เสียงสัชฌายะดิจิทัล (Digital Sajjhāya Recitation Sound) จากต้นฉบับพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ทั้งชุด 40 เล่ม รวมเวลาการออกเสียงสัชฌายะ ดิจิทัลทั้งสิ้น 3,052 ชั่วโมง หรือ ความจุ 1.6 เทราไบต์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์

จากความสำเร็จในการสร้าง พระไตรปิฎก เสียงสัชฌายะดิจิทัล ดังกล่าว อันนับเป็น การถอดเสียง ปาฬิ ในพระไตรปิฎกสากลอ ย่างละเอียดพร้อมทั้งบูรณาการ ต่อยอด เป็นโน้ตเสียง ปาฬิ ในทางดุริยางคศาสตร์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2562 ผลงานวิจัยโน้ตเสียง ปาฬิ ชุดนี้ ได้รับรางวัลพระราชทานผลงานวิจัยดีเด่น จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบุว่าเป็นการบันทึกเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎก ด้วยโน้ตเสียงสากล เป็นครั้งแรก ในโลก

ด้วยเหตุนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การดำเนินงาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ โครงการพระไตรปิฎกสากล จึงได้ปรับปรุงระบบฐานข้อมูล พระไตรปิฎกสากล ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ทั้งหมด โดยบูรณาการ กับโปรแกรม สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา ในพระไตรปิฎกสากล เรื่อง การแบ่งพยางค์คำ ปาฬิ อัตโนมัติ The World Tipiṭaka Patent No. 46390 ตลอดจนได้จดทะเบียนบันทึก เป็น ลิขสิทธิ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ อันเป็นการสร้างความคุ้มครอง ในทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่ออนุรักษ์มิให้มีการดัดแปลงต้นฉบับ ภูมิปัญญาไทย ในพระไตรปิฎก ให้ผิดเพี้ยนไปจากดั้งเดิม แต่จะให้สิทธิ์แก่ผู้ที่ สามารถ นำภูมิปัญญาพระไตรปิฎกสากล ดังกล่าว ต่อยอดบูรณาการ กับเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ในอนาคตได้ ปัจจุบันมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล สามารถจัดพิมพ์ พระไตรปิฎกสากล จากคลังฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชุดนี้ (The World Tipiṭaka Big Data) เป็น

กลุ่มชุดอักขะระต่างๆ (Akkʰara) 5 กลุ่ม สำหรับชุดพระไตรปิฎกสากล ที่สำคัญของโลก คือ

1. กลุ่มชุด อักขะระโรมัน (Pāḷi-Roman Script)

2. กลุ่มชุด อักขะระชาติพันธุ์ไต (Pāḷi-Tai Script)

3. กลุ่มชุด อักขะระปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) (Pāḷi-Kirillitsa Script)

4. กลุ่มชุด อักขะระปาฬิ-พินอิน ของจีน (Pāḷi-Pinyin Script)

5. กลุ่มชุด โน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation)

ชุดโน้ตเสียง ปาฬิ สามารถพิมพ์ประกอบกับอักขะระต่างๆ ในข้อ 1-4 ข้างต้น หรือ พิมพ์เป็นชุดคู่ขนานสองชุดอักขะระ (Parallel Corpus) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลง เลือกพิมพ์ ผสมระหว่างสองอักขะระใดๆ จากชุดต่างๆ ในข้อ 1-4 ได้ตามความต้องการ

รวมพระไตรปิฎกสากลชุดต่างๆ เบื้องต้นจำนวน 120 ชุดๆ ละ 40 เล่ม ตามต้นฉบับ การสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 ที่แบ่งเป็นชุด 40 เล่ม ซึ่งหากจะพิมพ์ แยกเป็น แต่ละคัมภีร์จะมีจำนวน 4,800 เล่มคัมภีร์ ในระบบชุดหนังสือ หรือ ชุดดิจิทัล

ตัวอย่างการอ่านออกเสียง Pali Roman (Roman Script)

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์