เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สัทธรรมปุณฑริกสูตร (พระสูตรบัวขาว-พุทธมหายาน) จากวิกิพีเดีย N160
 

(ย่อ)

สัทธรรมปุณฑริกสูตร (พระสูตรบัวขาว-พุทธมหายาน) จากวิกิพีเดีย.. เชื่อกันว่าเป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


สัทธรรมปุณฑริกสูตร

(พระสูตรบัวขาว-พุทธมหายาน)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


        สัทธรรมปุณฑริกสูตร (สันสกฤต: सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र, Saddharma Puṇḍarīka Sūtra) เป็นพระสูตรที่สำคัญ ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ในพุทธศาสนิกชนมหายาน โดยเฉพาะในประเทศเอเชีย ตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้า เทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน

        สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้น ไม่มีมติ ที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของ สัทธรรมปุณฑริกสูตร ในหลายสถานที่จาก หลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอก ต้นฉบับตลอดช่วงเวลา อันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นที่ เคารพบูชา ของประชาชน จำนวนมาก ในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบ ต้นฉบับ ภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น

          ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออก แห่งสมาคม วิทยาศาสตร์ รัสเซีย มีต้นฉบับคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมี เตอร์กีสถานใต้ ราว คริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอก ราว คริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษา อุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9

        ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น

        วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจาก สัทธรรม ปุณฑริกสูตร อยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน พ.ศ. 693 จึงสันนิษฐานได้ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตร น่าจะมีอายุ ไม่ต่ำกว่า พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา ที่ความคิดแบบมหายาน พัฒนาขึ้น อย่างสมบูรณ์แล้ว ในอินเดีย


สัทธรรมปุณฑริกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี)
สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340



ชื่อ


        ชื่อดั้งเดิมของพระสูตรนี้ในภาษาสันสกฤตคือ "สัทธรรมปุณฑริกสูตร" (สันสกฤต: सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र; Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺร) แปลว่า พระสูตรว่า ด้วยบัวขาวแห่งธรรมอันล้ำเลิศ ("ปุณฑรีก" หมายถึง บัวขาว) ในภาษาอังกฤษเรียกตาม ความหมายว่า "Sūtra on the White Lotus of the Sublime Dharma" แต่นิยมเรียกทั่วไป โดยย่อว่า "Lotus Sūtra" (แปลว่า "พระสูตรบัวขาว") พระสูตรนี้ได้รับความนับเป็นอย่างมาก ในบรรดาประเทศที่นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน มีการแปลชื่อพระสูตร ออกเป็นชื่อภาษาท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ดังนี้

        จีน: 妙法蓮華經 miàofǎ liánhuá jīng (เมี่ยวฝ่าเหลียนฮฺวาจิง) เรียกโดยย่อว่า 法華經 fǎhuá jīng (ฝ่าฮฺวาจิง)
        ญี่ปุ่น: 妙法蓮華経 โรมาจิ: myōhō renge kyō (เมียวโฮเร็งเงเคียว) เรียกโดยย่อว่า 法華経 hōke kyō (โฮเคะเคียว)
        เกาหลี: 묘법연화경 myobeop yeonhwa gyeong (มโยพ็อบย็อนฮวากยอง) เรียกโดยย่อว่า 법화경 beophwa gyeong (พ็อบฮวากยอง)
        ทิเบต: དམ་ཆོས་པད་མ་དཀར་པོའི་མདོ dam chos pad-ma dkar po'i mdo
        เวียดนาม: Diệu pháp liên hoa kinh (เซียวฟ้าบเลียนฮวากิญ) เรียกโดยย่อว่า Pháp hoa kinh (ฟ้าบฮวากิญ)


สาระสำคัญ

        พระศากยมุนีพุทธะ ทรงค้นพบว่ามี “จักรวาลภายใน” ที่กว้างใหญ่อยู่ใน พระวรกาย ของพระองค์เอง ทรงก้าวข้าม ตัวตนชีวิตภายใน และแผ่ขยายตัวตน ชีวิตนี้ออกไป จนเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันกับจักรวาลภายนอกที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือ พลังชีวิตของจักรวาล ที่พระองค์ ทรงตรัสรู้ว่าคือธรรมะหรือกฎของชีวิต เมื่อทรง ตรัสรู้แล้ว ปัญญา และ ความเมตตา กรุณาของพระองค์ มุ่งไปที่การช่วยให้ประชาชน หลุดพ้นจากความทุกข์ สิ่งนี้ปรากฏให้เห็นอยู่ ในคัมภีร์ ทางพุทธศาสนาจำนวนมาก

        ในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ สัทธรรมปุณฑริกสูตร แสดงให้เห็นถึงความพยายาม ในการแสดง รูปธรรมของธรรมะ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และเป็นพระสูตร ที่ผู้คนใน ซีกโลกตะวันออกยึดถือ อย่างแพร่หลาย เนื่องด้วยคุณลักษณะ ของสัทธรรม ปุณฑริกสูตร ภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้

1. การอยู่ร่วมกันของชีวิตทุกรูปแบบ

        ใน “บทกุศโลบาย” (บทที่ 2) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ทรงเปิดเผยจุดมุ่งหมาย ที่ทรง ปรากฏขึ้นมาในโลกนี้ โดยตรัสถึง “เหตุปัจจัยที่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่อันดับหนึ่ง” คือเพื่อ “เปิดประตู” พุทธปัญญา “ชี้” พุทธปัญญา ทำให้ ประชาชน “รู้แจ้ง” พุทธปัญญา และ “เข้าสู่” พุทธปัญญา พุทธปัญญาที่กล่าวถึง ก็คือ ปัญญาที่มี พร้อมอยู่ในพลัง ชีวิตของ จักรวาลและ ส่องแสงออกมา เป็นความหมายเดียวกับคำว่า ธรรมชาติพุทธะ

        บุคคลทั้งหลายมีพร้อมพุทธปัญญาที่เป็นส่วนหนึ่ง ภายในชีวิตของพวกเขา ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ อาชีพ หรือวัฒนธรรม เพราะธรรมชาติพุทธะ มีพร้อมอยู่ในชีวิต ของทุกคน และด้วยการตื่นรู้นี้ ประชาชนทุกคนก็จะสามารถ เดินไปบน หนทางสู่ความสุขได้ ประชาชนล้วนเป็นมนุษย์ที่มีพร้อมความสามารถ ที่จะดำเนินชีวิตที่แสดง ศักยภาพ สูงสุด ในชีวิต ให้ปรากฏออกมาได้ นี่คือสิ่งที่สร้างวัฒนธรรมโลกของการอยู่ร่วมกัน และความ กลมเกลียวให้เป็นจริงได้

        ใน “บทการเปรียบเทียบเรื่องยาสมุนไพร” (บทที่ 5) ของ สัทธรรมปุณฑริกสูตร แนวคิดของการอยู่ร่วมกัน และ ความกลมเกลียวนี้ ถูกแสดงให้เห็นผ่านแนวคิดเรื่องการ อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวของสมุนไพร 3 ชนิดและต้นไม้ 2 ชนิด สมุนไพรและต้นไม้ทั้งหมด เหล่านี้ ต่างกันทั้งความสูง และรูปร่าง แต่เมื่อฝนตก ทั้งหมดต่างก็ดูดซับ สิ่งที่จำเป็น สำหรับ การเจริญเติบโต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของพรรณไม้แต่ละชนิด ท้องฟ้าและฝน ที่ตกลงมา คืออาหารหล่อเลี้ยงพลังชีวิตของจักรวาล ซึ่งก็คือคำสอนของพระพุทธะ และเป็น อาหารหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตนับล้าน ๆ ทั่วจักรวาล

2. การแสวงหาความเป็นนิรันดร์

        บทที่ 11 ของสัทธรรมปุณฑริก สูตรเริ่มต้นด้วยการปรากฏออกมาของหอรัตนะ อันยิ่งใหญ่โผล่ขึ้นมาจากพื้นโลก และพระประภูตรัตนพุทธะจากอดีต ที่ประทับอยู่ใน หอรัตนะ ทรงเป็นผู้ให้การรับรองว่า สิ่งที่พระศากยมุนี พุทธะ กำลังเทศนาทั้งหมด ล้วนถูกต้อง จากนั้น ใน “บทการปรากฏขึ้นมาจากพื้นโลก” (บทที่ 15) พื้นดิน ได้เปิดออก อีกครั้ง เหล่าโพธิสัตว์ จำนวนมากมายได้ปรากฏขึ้นมา และทำความเคารพต่อที่ประชุมเทศนา สัทธรรมปุณฑริกสูตร พระเมตไตรยโพธิสัตว์เป็นตัวแทนในที่ประชุมถามว่า ผู้คนเหล่านี้ ทั้งหมดคือใคร ในบทต่อมา คือ “บทการหยั่งอายุ กาลของพระตถาคต” (บทที่ 16) พระศากยมุนีพุทธะ ทรงตอบคำถาม ของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ โดยตรัสเกี่ยวกับ พระพุทธะ นิรันดร์ และให้ความ กระจ่างว่าสถานะที่แท้จริงของพระองค์คือ พระพุทธะที่ทรงรู้แจ้ง ตั้งแต่สมัยกาลนาน

        พระพุทธะนิรันดร์คือพระพุทธะ ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมะนิรันดร์ เป็นพระพุทธะ ผู้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจังหวะ พื้นฐานของจักรวาล “บทการหยั่งอาย ุกาลฯ” เปิดเผยการดำรงอยู่ ตลอดกาลของพระพุทธะนิรันดร์ ที่ปรากฏขึ้นมา ในโลกที่เราอาศัยอยู่ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ให้พ้นทุกข์ ทั้งที่พระพุทธะเป็นผู้ ที่หลุดพ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิดแล้ว

3. การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพ

        สัทธรรมปุณฑริกสูตร ได้เปิดเผยเรื่องการเคลื่อนไหว เพื่อสันติภาพในรูปของ โพธิสัตว์ ทั้งหลาย ที่โลดแล่นขึ้นมาจากพื้นโลก แสดงถึงพลังชีวิตนิรันดร์ของจักรวาล และโพธิสัตว์อื่น ๆ ที่ปรากฏในบทท้าย ๆ ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทเหล่านี้ บรรยายถึงพระไภษัชยราช โพธิสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญด้านยาและการเยียวยาชีวิต พระคัท คัทสวรโพธิสัตว์ ผู้เป็นสัญลักษณ์ การรังสรรค์ด้านศิลปะ เช่น ดนตรี พระสมันต ภัทรโพธิสัตว์

        ผู้แสดงคุณสมบัติของการเรียนรู้และความคิด และโพธิสัตว์ที่รู้จักกันในนาม พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นผู้ที่คอย รับฟังปัญหาและความกังวลใจของ ประชากรโลก โดยรีบรุดไปช่วยเหลือ และทำให้ประชาชนเกิดความกล้าหาญ และปราศจากความกลัว

        ที่น่าสนใจเป็นพิเศษอันเนื่องจากสารัตถทางสันติภาพ คือ โพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่รู้จักกัน ในนาม พระสทาปริภูต โพธิสัตว์ ชื่อนี้มาจากคำกล่าว ที่ท่านกล่าวกับผู้คน เสมอว่า “ข้าพเจ้ามี ความเคารพพวกท่านอย่างลึกซึ้ง ข้าพเจ้า ไม่กล้าที่จะปฏิบัติต่อ พวกท่านด้วยการ ดูถูก เหยียดหยามหรือความจองหอง” การปฏิบัติเช่นนี้แสดงถึง ทัศนะ ที่ท่าน มีต่อผู้คน ทั้งหลาย กล่าวคือเป็นการแสดงความเคารพธรรมชาติ พุทธะภายในชีวิตของพวกเขา สัทธรรม ปุณฑริกสูตร กล่าวว่า ท่านจะโค้งคำนับ ด้วยความเคารพ แก่พวกเขาทุกคน ซึ่งเป็นวิธีแสดง ความเคารพคุณค่า และ คุณธรรมที่มี พร้อม อยู่ในชีวิตของพวกเขา

        สัทธรรมปุณฑริกสูตรสอนว่า ธรรมชาติพุทธะมีพร้อมอยู่ในปวงสรรพสัตว์ และ สามารถแสดงออกมาในความเป็นจริง บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ที่มีอยู่ภายใน ชีวิต ของมนุษย์ ทุกคน จึงทำให้แนวคิดของการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติ สามารถพัฒนา ให้เกิดขึ้นได้

จากการเทศนาเรื่องพระพุทธะนิรันดร์และธรรมะนิรันดร์ ว่าเป็นพลังชีวิตของจักรวาล สัทธรรม ปุณฑริกสูตรสอนถึง วิธีที่พลเมืองโลก จะสามารถมีส่วนร่วมในการสร้าง สันติภาพโลกได้ โดยแสดงเป็นเชิงสัญลักษณ์ด้วย คุณสมบัติ พิเศษ และ การทำหน้าที่ของโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่ปรากฏในพระสูตรนี้


เนื้อหา
|


        พระสูตรนี้มีสาระสำคัญกล่าวถึงยาน 3 อย่าง อันจะพาสรรพสัตว์ข้ามพ้นห้วง วัฏสงสารได้ ประกอบด้วย สาวกยาน (ศฺราวกยาน), ปัจเจกพุทธยาน (ปฺรตฺเยกพุทฺธยาน) และโพธิสัตวยาน (โพธิสตฺตฺวยาน) ยานทั้งสามนี้มิใช่หนทาง 3 สายที่แตกต่างกัน อันจะนำไปสู่เป้าหมาย 3 อย่างต่างกัน ทว่าเป็นหนทางหนึ่งเดียว ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย หนึ่งเดียว

        ภาษาต้นฉบับที่จารึกพระสูตรนั้นไม่ปราฏชัด มีข้อเสนอว่า อาจแต่งเป็นภาษา ถิ่นปรากฤต จากนั้นจึงแปลเป็นภาษา สันสกฤต ทำให้พระสูตรนี้เป็นที่แพร่หลาย มากขึ้น ต่อมามีการแปล เป็นภาษาจีนถึง 6 สำนวน แต่สามฉบับแรกต้นฉบับสาบสูญ ไปแล้ว เหลือเพียงสามฉบับหลัง คือ

    * ฉบับพระภิกษุธรรมรักษ์ แปลเมื่อ พ.ศ. 829 นับเป็นฉบับที่เก่าแก่ที่สุด ที่ยัง หลงเหลือ ในปัจจุบัน
    ฉบับพระกุมารชีพ ชาวเอเชียกลาง แปลเมื่อ พ.ศ. 934 กล่าวกันว่าเป็น ฉบับที่แปล ความได้สละสลวยที่สุด
    ฉบับท่านชญานคุปตะและท่านธรรมคุปตะ แปลเมื่อ พ.ศ. 1144 เนื้อความของ แต่ละฉบับ มีใจความหลัก เหมือนกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยมีความ แตกต่างกันในบางส่วน

        สัทธรรมปุณฑรีกสูตรถือเป็นคัมภีร์หลักอีกเล่มหนึ่ง ที่มีการแปลเป็นภาษาจีน ทั้งยังเป็น พระสูตรยุคแรกสุด ที่ระบุคำว่า "มหายาน"ด้วย

        พระวสุพันทุได้รจนาอรรถกถาพระสูตรนี้ เป็นฉบับย่อ ให้ชื่อว่า "สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อุปเทศ" ในประเทศจีน ได้มีคัมภีรชั้นฎีกา เกิดขึ้นมากมาย เช่น ของท่านเต้าเซิง, ฝ่าอวิ่น, จื้ออี, จี้จ้าง และกุยจี เป็นต้น แม้แต่ท่านจื้ออี (มหาคุรุเทียนไท้) ผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ ก็ได้อาศัยพื้นฐานจากพระสูตรเล่มนี้ ในญี่ปุ่น เจ้าชายโชโตะกุ ได้ทรง แต่งอรรถาธิบายพระสูตร นี้ในชื่อว่า "ฮกเกกิโช" พระนิชิเรนผู้สถาปนา นิกายนิชิเรนโชชูก็ได้อาศัยพระสูตร เล่มนี้ และเชื่อว่าเป็น พระสูตร ที่สามารถทำให้บรรลุพุทธภาวะ ได้ในอัตตภาพปัจจุบัน ซึ่งพระสูตร เล่มนี้ มีอิทธิพล อย่างมาก จนเกิดเป็นองค์กรทางศาสนาและสวดท่องพระสูตรนี้ เช่น นิกายนิชิเรนโชชู สมาคมสร้างคุณค่า เป็นต้น


ฉบับแปลภาษาอื่นๆ


         ดังที่ทราบกันในบรรดานักวิชาการทางพุทธศาสนา ที่ประเทศอินเดีย ในสมัย พุทธกาล ยังไม่มีการบันทึกคำสอน ศักดิ์สิทธิ์ เป็นลายลักษณ์ อักษร จึงใช้วิธีท่องจำ คำสอนสำคัญต่าง ๆ และถ่ายทอดด้วยปากเปล่า คำสอนของ พระพุทธองค์ถูก ถ่ายทอด ผ่านการสวดท่อง และท่องจำ โดยพระสงฆ์ ตามการค้นคว้าทางวิชาการ ในสาขาต่าง ๆ เช่น นิรุกติศาสตร์ คาดกันว่าในกระบวนการถ่ายทอด ถ้อยคำเดิม ถูกเปลี่ยนไป เนื้อหาของคัมภีร์ได้รับการจัดเป็น หมวดหมู่ และมีการตีความต่าง ๆ เพิ่มเติม มีการเรียบเรียงคำสอนของพระพุทธองค์เป็น “พระสูตรต่างๆ” และข้อบังคับ ของคณะสงฆ์เป็น “พระวินัย”

       จนกระทั่งเมื่อมีการสังคายนาธรรม ในที่ประชุม พระสงฆ์จะสวดท่องคำสอนของ พระพุทธองค์ มีการยืนยันถ้อยคำตาม ที่ได้ท่องจำมา และลงมติเห็นชอบ ก่อนที่จะจด บันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร

       ดังนั้น เช่นเดียวกันกับในสัทธรรมปุณฑริกสูตร แต่ละบทหรือท่อนหลักจึงเริ่มต้น ด้วยคาถา ดังว่า “อาตมาได้สดับมา ดังนี้”

ฉบับภาษาไทย

         สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ที่แปลเป็นภาษาไทยมีหลายฉบับ แต่ฉบับที่สมบูรณ์มี 3 ฉบับ ได้แก่
         สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับแปล สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย จากพากย์ อังกฤษ สู่พากย์ไทย
         สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับแปล ศูนย์ไทย-ธิเบต แปลโดย รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ภิกษุณีธัมนันทา) จากพากย์อังกฤษสู่พากย์ไทย
         สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับแปล วัดโพธิ์แมนคุณาราม แปลโดย ชะเอม แก้วคล้าย
         ฉบับแปลไม่สมบูรณ์ อาทิ ฉบับ อ.เลียง เสถียรสุต (บทสมันตมุขปริวรรต) แปลจากภาษาจีน


ฉบับภาษาตะวันตก


  * Burnouf, Eugène (tr.). Le Lotus de la Bonne Loi : Traduit du sanskrit, accompagné d'un commentaire et de vingt et un mémoires relatifs au Bouddhisme. Paris 1852 (Imprimerie Nationale). - French translation from Sanskrit, first in Western language.
  * Kern, H. (tr.). Saddharma Pundarîka or the Lotus of the True Law. Oxford 1884 (Clarendon Press) Sacred Books of the East, Vol. XXI, New York 1963 (Dover), Delhi 1968. Translation from Sanskrit.
  * Soothill, W. E. (tr.). The Lotus of the Wonderful Law or The Lotus Gospel. Oxford 1930 (Clarendon Press). Abridged translation from the Chinese of Kumārajīva.
*Murano Senchū (tr.). The Sutra of the Lotus Flower of the Wonderful Law. Tokyo 1974 (Nichiren Shu Headquarters). Translation from the Chinese of Kumārajīva.
  * Katō Bunno, Tamura Yoshirō, Miyasaka Kōjirō (tr.), The Threefold Lotus Sutra : The Sutra of Innumerable Meanings; The Sutra of the Lotus Flower of the Wonderful Law; The Sutra of Meditation on the Bodhisattva Universal Virtue. New York & Tōkyō 1975 (Weatherhill & Kōsei Publishing).
  * Hurvitz, Leon (tr.). Scripture of the Lotus Blossom of the Fine Dharma: The Lotus Sutra. New York 1976 (Columbia University Press). Records of Civilization: Sources and Studies. Translation from the Chinese of Kumārajīva.
  * Kuo-lin Lethcoe (ed.). The Wonderful Dharma Lotus Flower Sutra with the Commentary of Tripitaka Master Hsuan Hua. Translated by the Buddhist Text Translation Society. San Francisco 1977 (Buddhist Text Translation Society). Translation from the Chinese of Kumārajīva.
  * Watson, Burton (tr.). The Lotus Sutra. New York 1993 (Columbia University Press) Translations from the Asian Classics. Translation from the Chinese of Kumārajīva.
  * Kubo Tsugunari, Yuyama Akira (tr.) The Lotus Sutra. Revised 2nd ed. Berkeley, Calif. : Numata Center for Buddhist Translation and Research, 2007. Translation from the Chinese of Kumārajīva with input from the Central Asian Kashgar Sanskrit manuscript. ISBN 9781886439399
  * Reeves, Gene (tr.) The Lotus Sutra : A Contemporary Translation of a Buddhist Classic. Boston 2008 (Wisdom Publications), ISBN 0-86171-571-3. xii + 492 pp. Translation from the Chinese of Kumārajīva. Includes also the opening and closing sutras The Sutra of Innumerable Meanings and The Sutra of Contemplation of the Dharma Practice of Universal Sage Bodhisattva.

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์