เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ศาสนาพุทธในประเทศไทย N158
 

(ย่อ)

สมัยทวาราวดี
สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
สมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13)
สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 15)
สมัยเถรวาทแบบพุกาม
สมัยกรุงสุโขทัย
สมัยล้านนา (พ.ศ. 1839 - 2020)

สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031)
สมัยอยุธยาช่วงที่สอง ( พ.ศ. 2031 - 2173)
สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ. 2173 - 2275)
สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ. 2275 - 2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310 - 2322)
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2322 เป็นต้นมา)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

ศาสนาพุทธในประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพุทธศาสนา เข้ามาสู่ดินแดน ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับ ประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย

ในขณะนั้นประเทศไทย รวมอยู่ในดินแดน ที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขต กว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศ ในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่า มีใจกลางอยู่ที่ จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น พระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักร กวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่า ก็สันนิษฐาน ว่า มีในกลาง อยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ในยุคนี้ นำโดยพระโสณะ และพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่ พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรือง มาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

สมัยทวาราวดี
พระโสณะ และพระอุตตระ ได้เดินทางจากแคว้นมคธ เข้ามาประดิษฐาน พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีศูนย์กลาง อยู่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น

พระพุทธศาสนา ที่เข้ามาในสมัยนี้ เป็นนิกายเถรวาทดั้งเดิม โดยพุทธศาสนิกชน มีความศรัทธาเลื่อมใส บวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ ไว้ สักการบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในประเทศอินเดีย ที่พระเจ้า อโศกมหาราช ทรงสร้างขึ้น โดยศิลปะในยุคนี้ เรียกว่า ศิลปะ ทวารวดี

สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งเป็นอาณาจักร ของบรรพบุรุษชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณ ลุ่มน้ำแยงซีเกียง ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้ การยึดครองของ ชาวจีนฮั่น พระพุทธศาสนา ในยุคนี้ คาดว่าเป็นแบบ มหายาน ในสมัยขุนหลวงม้าว กษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายาน โดยการนำของ พระสมณทูตชาวอินเดีย มาเผยแผ่

ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่าย มหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามา เผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเชีย กลาง ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง 77 มีราษฎร 51,890 ครอบครัว เปลี่ยนมานับถือ พระพุทธศาสนา แบบมหายานแทนเถรวาท

สมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13)
อาณาจักรศรีวิชัย ในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรือง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 กษัตริย์ศรีวิชัย มีพระราชศรัทธา ในพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ดังหลักฐานที่ปรากฏ ได้แก่ เจดีย์พระบรมธาตุไชยา เจดีย์ปุโรพุทโธ รูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร รวมถึงหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป ในดินแดนสุวรรณภูมิ

สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 15)
ในสมัยกษัตริย์กัมพูชา ราชวงศ์สุริยวรมัน เรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยาย ออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. 1540 และได้ตั้งราชธานี เป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าว ขึ้นหลายแห่ง เช่น
  เมืองลพบุรี ปกครองเมือง ที่อยู่ในอาณาเขตทวารวดี ส่วนข้างใต้
  เมืองสุโขทัย ปกครองเมือง ที่อยู่ในอาณาเขตทวารวดี ส่วนข้างเหนือ
  เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมือง ที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
  เมืองพิมาย ปกครองเมือง ที่อยู่ในที่ราบสูงตอนข้างเหนือ

เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรี หรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์ กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์ เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายาน ในสมัยนี้ผสมกับ ศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับ พระพุทธศาสนา ทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิม กับแบบมหายาน และศาสนา พราหมณ์ ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ และมี พระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน

สำหรับศาสนสถาน ที่เป็น ที่ประจักษ์พยาน ให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่ง พระพุทธศาสนา ในประเทศไทย ครั้งนั้น ได้แก่พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัด นครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูป ที่สร้างในสมัยนั้น ถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี

สมัยเถรวาทแบบพุกาม
ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่า กับมอญ เข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง ละโว้ และทวารวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

ส่วนชนชาติไท หลังจากอาณาจักรอ้ายลาว ถูกจีนทำลายจนพินาศ ก็ได้มาตั้ง อาณาจักร น่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. 1299 ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรม แห่งอาณาจักร น่านเจ้า ได้สถาปนาแคว้นโยนกเชียงแสนขึ้น ต่อมาอาณาจักรน่านเจ้าได้ถูกจีน แทรกซึม เข้าทำลาย จนพินาศอีกครั้ง

ซึ่งในคราวนี้ผู้ปกครองของจีน ได้ใช้วิธีแบ่ง ชาวไท ออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย แล้วผลักดันออกไปคนละทิศละทาง และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวไทก็ได้แตกสาน ซ่านเซ็นจนรวมกันไม่ติด อยู่จนถึงวันนี้ คือ ทางตะวันตก ได้ถูกจีนผลักดันจนแตก กระจัด พลัดพรายไปถึงอัสสัม (อยู่ทางภาคตะวันออกของอินเดียในปัจจุบัน) ส่วนทางตะวันออก ก็กระจัดกระจายไปถึงกวางสี หูหนาน เกาะไหหลำ รวมถึง ตอนเหนือ ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ส่วนทางใต้นั้นก็ได้แก่ประชากร ในประเทศต่างๆ ทางเอเชียอาคเนย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศลาวและไทย

เมื่อกษัตริย์ขอม(กัมพูชา )เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับ ทั้งศาสนา และวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากพม่า เช่นเดียวกัน คือ เมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่า เข้ามาครอบครองดินแดน แถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถาน แบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ 4 มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพุกามแบบพม่า

สมัยกรุงสุโขทัย
หลังจากอาณาจักรพุกาม และเขมรเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง 2 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนา ทางภาคเหนือ ของไทย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีศูนย์กลาง อยู่ที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนา พระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกา ที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในกรุงสุโขทัย

พระพุทธศาสนา แบบลังกาวงศ์ ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง 2 ครั้ง คือ
  ครั้งที่ 1 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ
  ครั้งที่ 2 ในสมัยพระยาลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก

ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูป สมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน

สมัยล้านนา
ปี พ.ศ. 1839 พญามังราย ทรงสร้างราชธานีขึ้น ชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มแม่น้ำปิง ได้สร้างเมือง สร้างวัง และวัดขึ้น ทรงทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นฝ่ายคามวาสี และอรัญญวาสี จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนา เช่น เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ต่างก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านพระพุทธศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนา มีอิทธิพลต่อชาวล้านนา อย่างมาก

ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้ทำการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันขึ้น ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เมื่อปี พ.ศ. 2020 ในสมัยล้านนา ได้เกิดมีพระเถระนักปราชญ์ ชาวล้านนาหลายรูป ท่านเหล่านั้น ได้รจนาคัมภีร์สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาไว้ เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสิริมังคลาจารย์ พญาณกิตติเถระ พระรัตนปัญญาเถระ พระโพธิรังษี พระนันทาจารย์ และพระสุวรรณรังสี

สมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยานั้น มีความเป็น ฮินดู ปนอยู่ค่อนข้างมาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์มากกว่าที่ใดๆ ราษฎรอยุธยามุ่งในเรื่อง การบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยา ต้องประสบกับ ภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่

สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031)
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมือง ด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ผนวชเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อ พ.ศ. 1998 และทรงให้ พระราชโอรส กับพระราชนัดดา ผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่า เป็นการเริ่มต้น ของประเพณี การบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของ พระองค์ ได้มีการรจนา หนังสือมหาชาติ คำหลวง ใน พ.ศ. 2025

สมัยอยุธยาช่วงที่สอง ( พ.ศ. 2031 - 2173)
สมัยนี้ได้มีความนิยม ในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัด ประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้พบพระพุทธบาท สระบุรี ทรงให้สร้าง มณฑป ครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2170 และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ. 2173 - 2275)
พระมหากษัตริย์ ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมาก ทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา อย่างแรงกล้า สมัยนี้ฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนา และอาจทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา มิชชันนารี่ฝรั่งเศสจึงต้องผิดหวังไป

สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ. 2275 - 2310)
พระมหากษัตริย์ ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสวยราช
  เมื่อ พ.ศ. 2275 การบวชเรียน กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อ กันมาถึง ยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียน มาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทย ไปฟื้นฟูพุทธศาสนา ในประเทศลังกาตามคำทูลขอ ของกษัตริย์ลังกา
  เมื่อ พ.ศ. 2296 จนทำให้พุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรือง ในลังกาอีกครั้ง จนถึง ปัจจุบัน และเกิดนิกาย ของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่านิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

สมัยกรุงธนบุรี
ในยุคนี้นับเป็นยุคแห่งความเสื่อม ของพุทธศาสนาอีกสมัยหนึ่ง คือ นับแต่พระยาตาก (สิน)ได้ชักนำคนไทยเชื้อสายจีน หนีฝ่าทัพพม่าออกจากกำแพงพระนครศรีอยุธยา จนกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก

ในปี พ.ศ. 2310แล้ว พม่าได้ทำลายบ้านเมือง จนเสียหายย่อยยับ ล้างผลาญชีวิต คน ข่มขืนผู้หญิงไทย ปล้นเอาทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่ง พระสงฆ์ ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย

ครั้นต่อมาพระยาตาก (สิน) ได้สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ และตั้งราชธานีใหม่ คือ กรุงธนบุรีแล้ว ได้ทำนุบำรุงพระศาสนา และได้ชำระวงการศาสนาใหม่ ลงโทษสมณะ ที่กระทำความชั่ว อันไม่สมกับความเป็นสมณะ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเปลี่ยนแปลง ราชวงศ์

ในปีพ.ศ. 2322 เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์ มาไว้ยังประเทศไทยด้วยเช่นกัน

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2325 ต่อจากพระเจ้าตากสิน ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์

ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เช่น การสร้าง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศน์ เทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น โปรดให้มีการ สังคายนา พระไตรปิฎกครั้งที่ 9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ณ วัดมหาธาตุทรง ตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช องค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จ พระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2352

รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352 - 2367)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2352 เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา เหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทย แต่โบราณ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (มี), สมเด็จพระสังฆราช (สุก) และสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

ในปี พ.ศ. 2357 ทรงจัดส่งสมณทูต 8 รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2360 ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติ ถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไป ตั้งแต่ เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการ เปลี่ยนแปลง แก้ไข วิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร 3 ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น 9 ชั้น คือ ชั้นประโยค 1 - 9

รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2394)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวง เพิ่มจำนวนขึ้น ไว้อีกหลายฉบับ ครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ

โปรดให้แปลพระไตรปิฎก เป็นภาษาไทย ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือ วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้ง โรงเรียนหลวง ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็ก

ในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามกุฎสมมติ วงศ์ พระวชิรญาณมหาเถร ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของ พระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลาง ของคณะธรรมยุติ

รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 -2411)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช 27 พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ใน พ.ศ. 2394 ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น วัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิต มหาสีมาราม และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "มาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2394 ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2411 ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือ วัดราชบพิธ วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสน าจำนวนมาก โปรดให้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้พระสงฆ์ รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ

พ.ศ. 2427 ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม

พ.ศ. 2414 โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนใน หัวเมืองขึ้น

พ.ศ. 2435 มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 จบ

พ.ศ. 2432 โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิต บอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ

พ.ศ. 2439 ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัย เป็นมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง ของพระภิกษุสามเณร

พ.ศ. 2436 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษา พระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณร ฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิด ในปีเดียวกัน

รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 -2468)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราด เปรื่อง ในความรู้ทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนใน พระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับ ทรงอบรมสั่งสอน อบรมข้าราชการ ด้วยพระองค์เอง โปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)

เมื่อ พ.ศ. 2456 ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการ เป็นกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2454 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการ สอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2469 ทรงเริ่มการศึกษา พระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีก หลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2454 ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"

พ.ศ. 2462 ถึง พ.ศ. 2463 โปรดให้พิมพ์ คัมภีร์อรรถกถา แห่งพระไตรปิฎกและ อรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่นๆ เช่น วิสุทธิมรรค คัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นต้น

รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 - 2473 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้ พิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ ชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด และพระราชทาน แก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 500 ชุด

โปรดให้ย้ายกรมธรรมการ กลับเข้ามารวมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการ อย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด"

ต่อมาปี พ.ศ. 2471 กระทรวงธรรมการ ประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษา สำหรับ นักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียน พระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า "ธรรมศึกษา"

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎร ได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญา สิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 8 ในขณะพระพระชนมายุ เพียง 9 พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษา อยู่ใน ต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในด้านการศาสนาได้มีการแปล พระไตรปิฎก เป็นภาษาไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2500

พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น 1250 กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2492

พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการ เป็นกระทรวงศึกษาธิการ และกรม ธรรมการ เปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์ มีความ สอดคล้อง เหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่

พ.ศ. 2488 มหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ได้ประกาศตั้งเป็น มหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - 2559)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น รัชกาลที่ 9 สืบต่อมา มีพระราชศรัทธา ในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์ แก่ทุกศาสนา ทรงสร้างวัดแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดชลบุรี และทรง ปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ได้มีการส่งเสริม พุทธศาสนา ด้านต่าง ๆ มากมาย

ในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 2,500 ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2500 รัฐบาลได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้นอย่าง ยิ่งใหญ่ ซึ่งอินเดียและลังกาเรียกว่า "พุทธชยันตี" โดยกำหนดให้วันที่ 12-14 พฤษภาคมเป็นวันหยุดราชการ ศาลาพิธีตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงาน มีผู้แทนจาก 13 ประเทศเข้าร่วม พระสงฆ์ 2,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์พร้อมกัน ดังกังวานก้องไปทั่วทุกทิศ และ มีการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนรักษาศีลห้า หรือศีลแปด ตลอด 7 วัน 7 คืน

ในปี พ.ศ. 2500 นี้ รัฐบาลได้กำหนด พิธีเฉลิมฉลองทั่วประเทศ มีการจัดสร้าง พุทธมณฑล ขึ้น ณ ที่ดิน 2,500 ไร่ ระหว่างกรุงเทพ-นครปฐม แล้วสร้าง พระมหาพุทธปฏิมา ปางประทับ ยืนลีลาสูง 2500 นิ้ว ภาย ในบริเวณรอบองค์พระ มีภาพจำลอง พระพุทธประวัติ และมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ได้ปลูกต้นไม้ ที่มีชื่อ ในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น

สร้างพระพิมพ์ปางลีลา เป็นเนื้อชิน และเนื้อผงจำนวน 4,842,500 องค์ พิมพ์พระไตรปิฎก แปลจากภาษาบาลี เป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และบูรณะปูชนีย สถานวัด วาอารามทั่วพระราชอาณาจักร อุปสมบทพระภิกษุจำนวน 2,500 รูป และ นิรโทษกรรมแก่นักโทษ ประกวด วรรณกรรม ศิลปะทางพระพุทธศาสนา โดยเชิญ ผู้แทนพุทธศาสนิกชนทั่วโลก มาร่วมอนุโมทนา

ในปัจจุบันนี้มีประชากรไทย นับถือพุทธศาสนา มากกว่าร้อยละ 94 และมี พุทธศาสนิกชนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก (รองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ตามลำดับ)

การเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญ กระแส เรียกร้อง ให้บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักรไทย ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550





ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ
1.มหามกุฏราชวิทยาลัย
2.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
3.องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
4.ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
5.คณะสงฆ์อนัมนิกาย
6.คณะสงฆ์จีนนิกาย
7.และพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยาย เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กร ทั่วประเทศ และได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา

โดยก่อนหน้านั้น เมื่อพ.ศ. 2546 สมัยรัฐบาลของ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นักวิชาการชาวไทยพุทธ ได้เขียนตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และกล่าวไว้ว่า ‘พระพุทธศาสนา เป็นศาสนา ประจำชาติ’ แต่ถูกนายวินัย สะมะอุน ชาวมุสลิม ท้วงติงว่ากล่าวเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีใน รัฐธรรมนูญ และอาจขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย ทำให้กรมวิชาการ ต้องสั่งให้ตัด ประโยคดังกล่าวออกไปจากหนังสือ ซึ่งเป็นหลักสูตร ของกระทรวง ศึกษาธิการ ทุกเล่ม ซึ่งหมายความว่า ถ้าจะบอกว่าพระพุทธศาสนา เป็นศาสนา ประจำชาติ ของไทย ก็จะกล่าวได้แต่เฉพาะในกรณี ที่ไม่เป็นทางการ เท่านั้น

ในการเรียกร้องครั้งนี้ มีแกนนำพระสงฆ์หลายรูป ที่ออกมาสนับสนุน อาทิ พระพรหม มังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) หรือปัญญานันทภิกขุ, พระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี), พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พระเทพวิสุทธิกวี (เกษม สญฺญโต), พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช), พระมหาโช ทสฺสนีโย ฯลฯ

นักวิชาการและชาวพุทธ ที่เขียนบทความ หรือให้สัมภาษณ์สนับสนุนได้แก่ ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ซึ่งเขียนบทความหลายชิ้น ลงหนังสือพิมพ์ข่าวสด และมติชน เพื่อสนับสนุน, ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ซึ่งเปิดเวปไซต์ส่วนตัว ชี้แจงเหตุผล, นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ กรรมาธิการฯ ประจำรัฐสภา, นาย บรรหาร ศิลปอาชา, พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล, พลตรี ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์, เปลว สีเงิน คอลัมนิสต์ชื่อดัง, นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ เป็นต้น

กลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วยได้แก่ พระมโน เมตฺตานนฺโท หรือเมตตานันโทภิกขุ, พระไพศาล วิสาโล, ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ภิกษุณีธัมมนันทา, น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ, นาย ธงทอง จันทรางศุ



สมัยรัชกาลที่ 10 (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ออกพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ 2 ฉบับ ได้แแก่ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับที่ 3 และ ฉบับที่ 4 โดยตามกฎหมายใหม่ พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สมเด็จ พระสังฆราช และ กรรมการมหาเถรสมาคมได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องเลือก พระสงฆ์ ที่มีสมณศักดิ์เท่านั้น

การต่อต้านการสร้างมัสยิด และศาสนาอิสลาม
พระสงฆ์ได้มีบทบาท ในการต่อต้านมัสยิด ในจังหวัดเชียงใหม่

(ชาว จว.น่าน ต่อต้านการสร้างมัสยิดเมื่อเดือน มีนาคม 2558/ภาพจากเว็บ MGR)




มหายาน
แรกเริ่มนั้นประเทศไทย ก็เคยมีนิกายมหายาน มาช้านาน ซึ่งได้รับอิทธิพล ทั้ง อาณาจักร ศรีวิชัย ซึ่งมีอิทธิพล ทางตอนใต้ของประเทศ และจักรวรรดิขอม ซึ่งมีอิทธิพล ทางตอนกลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศ และ มีหลักฐาน อย่างชัดเจนเช่น เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่ง ซึ่งขุดพบที่อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี หรือพระพิมพ์ดินดิบต่างๆที่มีศิลปะขอม หรือศรีวิชีย ที่พบได้ในแหล่ง โบราณคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 2อาณาจักรนี้

หลังจากที่ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาถนิกายลังกาวงศ์ ได้เผยแพร่แล้ว บวกกับการ นับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาทดั้งเดิมก่อนนิกายมหายาน จะมีอิทธิพลในสมัยนั้น จึงทำให้ความนิยมของ นิกายมหายานเสื่อมถอยลง และสาปสูญไป จนต่อมาในยุค ธนบุรี ชาวญวณ ได้อพยพจากเวียดนาม เนื่องจากเกิดสงครามมา (ต่อมาได้ตั้ง คณะสงฆ์ขึ้นนั่น ก็คือคณะสงฆ์ อนัมนิกาย แห่งประเทศไทย ในอาณาจักร รัตนโกสินทร์)

และต่อมาใน อาณาจักร รัตนโกสินทร์ ก็มีชาวจีนได้อพยพมา ก็เนื่องจากสงคราม และได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้น ซึ่งมีชื่อว่าจีนนิกาย จวบจนปัจจุบัน และในประเทศไทยนั้น มีนิกายและกลุ่มคณะสงฆ์ต่างๆ ดังนี้
คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย
นิกายนิชิเรน
นิกายวัชรยาน

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์