ตาลปัตร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด) ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล พัดใบลาน
ตาลปัตร ของเดิมเป็นพัด ที่ทำจากใบตาลหรือใบลาน สำหรับพัดตัวเองเวลาร้อน หรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระ และคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้น และใช้บังหน้า เวลาทำพิธีทางศาสนา ของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร และแม้ภายหลังจะใช้ผ้าสีต่างๆ หุ้มลวดหรือไม้ไผ่ ซึ่งขึ้นรูปเป็นพัดก็อนุโลมเรียกว่าตาลปัตร
ตาลปัตร ปัจจุบันนิยมปักลวดลายศิลปะ แสดงสัญลักษณ์ของงาน และ อักษร บอกงาน พร้อมวันเดือนปีไว้ด้วย ทำให้มีคุณค่าทางศิลปะ ขึ้นนอกเหนือจาก วัตถุประสงค์เดิม
ตาลปัตร ที่ใช้ทั่วไปเรียกว่า พัดรอง เป็นคู่กับคำว่า พัดยศ ซึ่งเป็นพัดพระราชทาน บอกตำแหน่งชั้นสมณศักดิ์ จึงนิยมเรียกันว่า ตาลปัตรพัดยศ
---------------------------------------------------------------------------------
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยได้รับ ประเพณี
มีพัดยศสำหรับพระสงฆ์
มาจาก ลังกา โดยกษัตริย์ แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์และ พัดยศ เพื่อให้ พระสงฆ์สำหรับใช้แสดงถึง สมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย
การใช้ตาลปัตรของภิกษุในปัจจุบัน
- ตอนให้ศีล
- ตอนให้พร (อนุโมทนา)
- สวดพระอภิธรรม
การใช้ตาลปัตรของพระสงฆ์ ในการประกอบพิธี ที่เป็นพิธีมงคลต่าง ๆ พระสงฆ์ จะใช้ ตาลปัตรเฉพาะเมื่อตอนให้ศีล (คือ ตอนเริ่มพิธี) และตอนอนุโมทนา (ให้พร) แก่ ผู้มาฟังธรรม หรือเจ้าภาพของงานเท่านั้น ในการสวดตามปกติ จะไม่ใช้ตาลปัตร แต่หากเป็นงานศพพระสงฆ์จะใช้ตาลปัตร ในขณะ สวดพระอภิธรรมด้วย
นอกจากตาลปัตรที่พระสงฆ์ทั่ว ๆ ไปใช้แล้ว ยังมี ตาลปัตรพิเศษ ที่มีลักษณะแตก ต่างจากตาลปัตรทั่วไป ซึ่งมีความวิจิตรงดงาม เพราะมีการประดิษฐ์ตกแต่ง เป็นพิเศษ และมีลักษณะเฉพาะ ตาลปัตร ชนิดนี้ เรียกว่า พัดยศ |