เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ประวัติพัดยศ พัดยศพัฒนามาจากรูปแบบเดิม คือตาลปัตร N156
 




 
 


ประวัติพัดยศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พัดยศ คือพัดเกียรติยศ อันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่ง ที่พระมหากษัตริย์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทาน แก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญ และกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก่

พัดหน้านาง สำหรับพระเปรียญ และพระฐานานุกรมบางตำแหน่ง
พัดพุดตาน สำหรับพระครูสัญญาบัตรและพระฐานานุกรมบางตำแหน่ง
พัดเปลวเพลิง สำหรับพระครูสัญญาบัตรที่เป็นเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง (ชั้นเอก)
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สำหรับพระราชาคณะทุกชั้น จนถึงสมเด็จพระราชาคณะ

ประวัติ

พัดยศ เป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาต ให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการ ในโอกาสรับ พระราชทาน สมณศักดิ์ โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธี และการพระราชพิธีเท่านั้น วิวัฒนาการของพัดยศ ก่อนจะมีรูปแบบดังที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนาน และได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตร หรือพัดยศ มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสัน งดงามแตกต่างกัน ออกไป ตามระดับของชั้นยศ ที่ได้รับพระราชทาน

พัดยศพัฒนามาจากรูปแบบเดิม คือตาลปัตร คำว่าตาลปัตรมาจากภาษาบาลีว่า ตาลปตฺต ซึ่งแปลว่า ใบตาล ความหมาย คือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้น ทำด้วย ใบตาล ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้ม ด้วยผ้าชนิดต่างๆ ตลอดถึงทำด้วยงา หรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่า ตาลปัตร อยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบก ได้พัฒนามาเป็น พัดยศ หมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแด่พระสงฆ์ มาพร้อมกับการ ทรงตั้ง สมณศักดิ์ ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า พัดรอง หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึก ในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่า พัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัด ที่สร้างขึ้น เป็นที่ระลึก ในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตร เป็นชื่อรวมเรียก ได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง

เรื่องตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายท่าน ได้ให้ข้อ สันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้น คงมิใช่ของที่ทำขึ้นมา สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็น สิ่งของเครื่องใช้ ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อน สมัย พุทธกาลแล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนา ที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า ตาลปัตร วาลวิชนี และจิตรวิชนี

ตาลปัตร เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดย วิธีเอา ใบตาล มาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบ แล้วขึงริมให้ตึง เหลือก้านตาลไว้ เป็นด้ามตรงกลาง วาลวิชนี คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วย ใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูง สำหรับใช้โบกพัดวี ท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่องราชูปโภค ส่วนจิตรวิชนี คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ ตกแต่งด้วยสิ่งของ สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ ใช้โบกพัดวีในเวลา อากาศร้อน

การที่ตาลปัตรรูปหน้านาง เป็นที่แพร่หลาย และรู้จักกันทั่วไปนั้น เกิดขึ้นจาก พระราชปรารภ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ ให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ตาลปัตร รูปหน้านางแทนตาลปัตร ที่เรียกว่า "พัชนี" กล่าวคือ พระสงฆ์ในช่วงระยะเวลานั้น นิยมนำพัชนีที่มีรูปทรงเป็นพัดงองุ้มด้ามยาว ตัวพัด ทำขึ้นจากโครงโลหะ หรือไม้แล้วหุ้มด้วยผ้าที่มีลวดลาย มาใช้แทนตาลปัตรใบตาล ด้วยถือกันอย่างผิดๆ ว่าเป็นเครื่องยศ สำหรับพระสงฆ์ผู้มีบรรดาศักดิ์ ที่เอาไว้ใช้ แทนตาลปัตร หรือให้ลูกศิษย์พัดถวายปรนนิบัติ และยิ่งกว่านั้นยังได้ปรากฏ การทำตาลปัตรพัชนี เลียนแบบพัชนีที่เป็นเครื่องยศของเจ้านาย และขุนนาง ออกจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ เพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ในงานพิธีกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้พระสงฆ์ ใช้ตาลปัตรรูปหน้านางไว้ดังนี้

"....พัชนีนั้นท่านคิดไปดูรูปร่าง เห็นบัดสี ใครคิดอ่านทำขึ้นเมื่อไรให้เปนรูปอย่างนี้ ผู้นั้นจะไม่ได้พิจารณาให้ลเอียดเลย...ใช้ไปไม่มีสตินึกได้บ้างเลยว่า รูปร่างไม่ดี ไม่เปนมงคลเลย เอามาถือบังหน้าตา ครอบหัว ครอบหูอย่างไรมิรู้อยู่ น่ารำคาญใจ ...เครื่องมือไทยอีกอย่าง 1 รูปร่างก็คล้ายพัชนี คือจวัก ที่เรียกว่าจ่าหวักก็ดี..... เอามาใช้ตักเข้ากวนแกง ซึ่งจะขึ้นถ้วยขึ้นชามขึ้นสำรับ.... ในเครื่องต้นแล เครื่องเจ้านายที่มีบันดาลศักดิ์สูง เขาไม่ใช้มานานแล้ว เขามีทัพพีทองเหลือง ทำรูปเหมือนช้อนต้นใหญ่ ปลายย่อม...... ครั้งนี้ทรงพระราชดำริ ที่จะใคร่ให้พระสงฆ์ เลิกใช้พัชนีเสีย จะกลับไปทำพัดโครงไม้ไผ่ขึงๆ ปิดแพรปิดโหมด ถวายให้ใช้ เป็นอย่างพระสงฆ์จะยอมฤๅ ไม่ยอมไม่ทราบเลย การก็เคยมานานแล้ว ถ้าพระสงฆ์ ยังชอบใจ จะคงใช้อยู่ก็ตาม..."

ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่อง ให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติ ให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่ พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์ธรรมบท ว่า "ขณะที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก ถวายงาน พัดอยู่ด้านหลัง..." และ "พระสารีบุตร ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรม บนธรรมาสน์..." และความตอนหนึ่งในพุทธประวัติว่า "พระเจ้าปัสเสนทิโกศล โปรดให้สร้างพัด อันงดงามวิจิตร..." ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความ ที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรก น่าจะใช้ เพื่อพัดโบก คลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาวลังกาในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไป ในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น

ต่อมาภายหลัง ได้มีผู้อธิบายว่า พระสงฆ์ใช้พัด เพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไร ก็ตามที่พระ ไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลม ต่อมา ในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัด ในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทย ได้ใช้พัด เป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีต เมื่อ พระสงฆ์ไทย ไปในงานพิธีต่างๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้ง จนกลายเป็น ประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมาก จนพัดโบกลม จะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมา จึงถือไปเพื่อตั้ง บังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะทำให้ศาสนพิธีนั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตอง และเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น

รูปแบบของพัดยศ

รูปลักษณะ และการเรียกชื่อพัดยศของไทย ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบดังได้กล่าวมาแล้วได้แก่

พัดหน้านาง เชื่อกันว่าได้แบบอย่างมาจากลังกา เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด ใบพัด เป็นรูปไข่ หรือคล้ายเค้าหน้าของสตรี มีด้ามตรงกลาง ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

พัดหน้านางส่วนมากมักจะเป็นพัดรอง พัดเปรียญธรรมทุกชั้น พัดยศประทวน สมณศักดิ์ และพัดยศฐานานุกรมบางตำแหน่ง

พัดพุดตาน ใบพัด มีลักษณะวงกลม แต่ริมขอบหยักเป็นแฉกรวม 16 แฉกคล้าย กลีบดอกบัวบาน หรือดอกพุดตานบาน เป็นพัดที่ทำด้วยโครงเหล็กหุ้มแพร หรือ ผ้าสักหลาดกำมะหยี่ สีเดียวกันบ้าง สลับสีบ้าง ตามชั้นของสมณศักดิ์ ส่วนมาก เป็นพัด ของพระครูสัญญาบัตร หรือพัดของพระครูฐานานุกรมบางตำแหน่ง

พัดเปลวเพลิง มีลักษณะเป็นพัดยอดแหลม ใบเป็นแฉกคล้ายเปลวเพลิง ด้ามงา ยอดงา (แต่ปัจจุบันพัดยศทุกชั้น ได้มีพระบรมราชานุญาต ให้ทำด้วยพลาสติกผสม เรซิน ทั้งหมดแล้ว เนื่องจาก ประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันลงนามในสัตยาบรรณ ที่จะป้องกันรักษาสัตว์ป่า และ พันธุ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์) สำหรับพัดเปลวเพลิง ใช้เฉพาะพระครูสัญญาบัตร ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอกเท่านั้น

พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ คำว่าข้าวบิณฑ์ แปลตามตัวว่า ก้อนข้าว คือ ข้าวสุก ที่เขาปั้น เป็นก้อนใส่ลงในกรวย สอดไว้กับพุ่มดอกไม้ หรือกระทงขั้นบายศรี ใช้ เซ่นไหว้ บูชา ในพิธีกรรมบางอย่าง อีกอย่างหนึ่งคำว่าข้าวบิณฑ์ เป็นชื่อของ ลายไทย ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพุ่มช่วงล่าง เรียวแหลมขึ้นไปช่วงบน ส่วนพัดแฉก ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นั้น ใบพัดมีลักษณะส่วนล่างเป็นพุ่ม และเรียวแหลมขึ้นไป ถึง ส่วนยอด เหมือนลายข้าวบิณฑ์ของไทย หรือคล้ายดอกบัวตูมขอบนอก คล้ายกลีบบัว ที่ประกบแนบอยู่กับดอก มีกลีบอย่างน้อย 5-9 กลีบ มีการปักลายไทย ชนิดต่างๆ ด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง ทองแล่ง และอุปกรณ์การปักอื่น ๆ อย่างประณีต สวยงาม ตามความสูงต่ำของชั้นสมณศักดิ์ ที่ได้รับพระราชทาน พัดแฉกเป็นของ สำหรับพระราชาคณะ ตั้งแต่ชั้นสามัญขึ้นไป จนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

นอกจากนี้ ยังมีพัดยศเปรียญ อันเป็นเครื่องหมายสำหรับพระภิกษุ ผู้สอบได้บาลี เปรียญ 3 ประโยคขึ้นไป และมีคำเป็นเครื่องสมณศักดิ์ว่า "พระมหา" เวลาทรงตั้ง เรียกว่า "ทรงตั้งเปรียญ" ไม่ใช้คำว่า "พระราชทานสมณศักดิ์ - พัดยศ" สำหรับ ผู้สอบได้ ประโยค ป.ธ.3. พระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้ง โดยประทาน ประกาศนียบัตร พัดยศ ชื่อว่า ทรงตั้งแล้ว ส่วนผู้สอบได้ประโยค ป.ธ.6 ถึงประโยค ป.ธ.9 จะเสด็จพระราชทานประกาศนียบัตรพัดยศ และไตรจีวรด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม ลักษณะพัดยศเปรียญ เป็นพัดหน้านาง ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.5 มีพื้นสักหลาดสีแดงปักดิ้นเลื่อม มีเลขประโยค อยู่ตรงกลางพัด ประโยค ป.ธ.6 - ป.ธ.8 มีพื้นสักหลาดสีเหลืองด้ามสีดำ ปักดิ้นเลื่อมมีเลขประโยคอยู่ตรงกลาง ประโยค ป.ธ.9 พื้นสักหลาดสีเหลือง ด้ามสีขาว ปักดิ้นเลื่อมตรงกลางว่าง ไม่มีเลขประโยคกำกับ

 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์