เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สมณศักดิ์ และ ความเป็นมาของสมณศักดิ์ ชั้นพัดยศ N153
 

 

 

สมณศักดิ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมณศักดิ์ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับ พระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศ เป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน แก่ภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ให้ดำรงมั่น อยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลัง สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์ เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระภิกษุรูปใด ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมาย ภาระหน้าที่ ในการปกครองหมู่คณะ แห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย

ความเป็นมาของสมณศักดิ์
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้จิตวิทยา ในการปกครองพระสงฆ์สาวก โดยการยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ป้องปรามผู้ที่ควรป้องปราม ดังจะเห็นได้จากทรง ยกย่อง พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวก ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และทรงตั้ง เอตทัคคะ กล่าวคือ ทรงยกย่องพระสาวก อีกส่วนหนึ่งว่ามีความ เป็นเลิศในด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังมิได้ถือว่าเป็นสมณศักดิ์

เมื่อพระพุทธองค์ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพื่อสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ ของพระพุทธศาสนา พระประมุขแห่งประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มี การพระราชทานสมณศักดิ์ แก่พระสงฆ์ โดยปรากฏหลักฐานว่า มีการพระราชทาน สมณศักดิ์ และพัดยศพร้อมทั้ง เครื่องประกอบสมณศักดิ์อื่นๆ ได้รับแบบอย่างมาจาก ประเทศศรีลังกา

สำหรับประเทศไทยนั้น ระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย พระองค์ได้โปรดให้ราชบัณฑิต ไปอาราธนา พระมหาสามีสังฆราช มาจากประเทศลังกา เพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ในกรุงสุโขทัย พระมหาสามีสังฆราช คงจะได้ถวายพระพร ให้พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสงฆ์ ตามราชประเพณี ที่ถือปฏิบัติในประเทศลังกา ระบบสมณศักดิ์ ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อน เพราะมีเพียง 2 ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู พอมาถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา ระบบสมณศักดิ์ ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น 3 ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะ หรือพระราชาคณะ และพระครู

ทำเนียบสมณศักดิ์ไทยในปัจจุบัน

1.สมเด็จพระสังฆราช 1 พระองค์
2.สมเด็จพระราชาคณะ 10 รูป
3.พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 23 รูป
4.พระราชาคณะชั้นธรรม 50 รูป
5.พระราชาคณะชั้นเทพ 100 รูป
6.พระราชาคณะชั้นราช 210 รูป
7.พระราชาคณะชั้นสามัญ 510 รูป
8.พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ(ไม่จำกัดจำนวน)
9.พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
10.พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)(ไม่จำกัดจำนวน)
11.พระเปรียญ ป.ธ.9 - ป.ธ.8 - ป.ธ.7 - ป.ธ.6 - ป.ธ.5 - ป.ธ.4 - ป.ธ.3


ลำดับเกียรติ ชั้นพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี

สมเด็จพระสังฆราช
1. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
2. สมเด็จพระสังฆราช



พระราชาคณะ

3. สมเด็จพระราชาคณะ
4. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (เดิมเรียกว่ารองสมเด็จพระราชาคณะ)
5. พระราชาคณะเทียบรองสมเด็จพระราชาคณะ (ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว)
6. พระราชาคณะชั้นธรรม
7. พระราชาคณะชั้นเทพ
8. พระราชาคณะชั้นราช
9. พระราชาคณะชั้นสามัญ
- พระราชาคณะปลัดขวา- ปลัดซ้าย- ปลัดกลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระปลัดกลาง รูปแรก)
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค
- พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.9 - ป.ธ.8 - ป.ธ.7 - ป.ธ.6 - ป.ธ.5 - ป.ธ.4 - ป.ธ.3
- พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญ
- พระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะชั้นสามัญยก

พระครูสัญญาบัตร

10. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)
11. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)
12. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)
13. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
14. พระครูสัญญาบัตร เทียบพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)
15. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
16. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค
17. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)
18. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.)
19. พระครูสัญญาบัตร เทียบพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.)
20. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.)
21. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.)
22. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)
23. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.)
24. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.)
25. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือทผจล.ชพ.)
26. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า(ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.)
27. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือทผจล.ชอ.)
28. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
29. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
30. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช
31. พระเปรียญธรรม 8 ประโยค
32. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือทผจล.ชท.)
33. พระเปรียญธรรม 7 ประโยค
34. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม
35. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต)
36. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)
37. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.)
38. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.)
39. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.)
40. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)
41. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.)
42. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.)
43. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.)
44. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)
45. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.)
46. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.)
47. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.)
48. พระเปรียญธรรม 6 ประโยค
49. พระเปรียญธรรม 5 ประโยค
50. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ
51. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช
52. พระครูวินัยธร
53. พระครูธรรมธร
54. พระครูคู่สวด
55. พระเปรียญธรรม 4 ประโยค
56. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ
57.พระปลัดของตำแหน่ง จจ.จอ.
58. พระเปรียญธรรม 3 ประโยค
59. พระครูรองคู่สวด
60. พระครูสังฆรักษ์
61. พระครูสมุห์
62. พระครูใบฎีกา
63. พระวินัยธร
64. พระธรรมธร
65. พระสมุห์
66. พระใบฎีกา
67. พระพิธีธรรม
68. พระครูประทวนสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์