ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความแตกต่าง พระมหานิกาย กับ พระธรรมยุติกนิกาย
สมณวงศ์
เป็นวงศ์เถรวาทเดียวกันจากลังกา และเป็นนิกายมหาวิหารของลังกา เหมือนกัน ข้อนี้ไม่มีความแตกต่างกัน
จำนวนพระสงฆ์
โดยคณะสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยนั้น แบ่งย่อยเป็น 2 นิกายด้วยกัน คือ มหานิกาย ซึ่งมีพระสงฆ์อยู่จำนวนกว่า 80% ของพระสงฆ์ทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกกว่า 10% คือพระสงฆ์ใน ธรรมยุติกนิกาย
พัทธสีมา
ในกรณีของพระสงฆ์ธรรมยุติ จะมีการผูกพัทธสีมาโดยพระสงฆ์ ธรรมยุติ เอง ไม่สามารถไปใช้ พัทธสีมาลงอุโบสถ ทำสังฆกรรม อุปสมบทพระในพระอุโบสถ ที่เป็นพัทธสีมาของพระมหานิกายได้
การทำสังฆกรรม
ลงอุโบสถ สวดปาฏิโมข์ร่วมกันไม่ได้ ต้องแยกกันทำคนละวัด ต่างก็ต้องมีพัทธสีมา ของตนของตน
การออกเสียงในภาษาบาลี
ในการทำสังฆกรรม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เกรงว่า กรรมวาจาจะวิบัติ ก็เลย ต้องสวดออกเสียงบาลีให้ถูกต้องตามสำเนียงภาษามคธ แต่พระสงฆ์มหานิกาย ออกเสียงบาลีตามสำนียงภาษาไทย
ปฏิทินจันทรคติในการทำสังฆกรรม
โดยวันพระของวัด ธรรมยุติกนิกาย จะแตกต่างจากวันพระทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นวัน พระมหานิกาย และวันลงอุโบสถทำสังฆกรรมก็อาจจะต่างวันกัน อันเนื่องมาจากการ คำนวณปฏิทินแตกต่างกัน เรียกว่าปฏิทินปักขคณนา
วิธีการบวช
แตกต่างกันเรื่องปลีกย่อยเล็กน้อย โดยการบวชแบบธรรมยุติกนิกายเรียกว่า การบวช แบบเอสาหัง ส่วนการบวชแบบมหานิกายเรียก การบวชแบบอุกาสะ
การรับปัจจัยเงินทอง
ปกติพระทั้งหลาย ย่อมไม่รับปัจจัยอยู่แล้วโดยพระวินัย แต่พระธรรมยุติก็จะเปลี่ยน วิธีการรับโดยใช้ใบ ปวารณาแทน ไม่ได้รับโดยตรง แต่บางรูปก็ไม่รับเลยก็มีทั้ง มหานิกายและธรรมยุติ
สีผ้า
ส่วนมากมหานิกาย ครองผ้าสีเหลืองส้มสด พระนิกายธรรมยุติจะครองสีหม่นกว่า แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป แล้วแต่ว่าจะเป็นวัดป่า หรือวัดบ้านก็จะครองสีกรัก หรือสีแก่นขนุน ซึ่งก็มีทั้งมหานิกายและธรรมยุติ
การครองจีวร
ปัจจุบันนี้แยกค่อนข้างยาก ในเรื่องการห่มดองห่มคลุม ห่มมังกร ก็มีทั้งมหานิกาย และธรรมยุติ แต่เวลาทำสังฆกรรม พระสงฆ์มหานิกาย ก็จะมีผ้ารัดอก ซึ่งเป็น แบบแผน ของมหานิกายที่เห็นได้ชัดเจน
การฉัน
ส่วนจริยาวัตรอื่น ๆ เช่น การฉันในบาตร ฉันมื้อเดียว ฯลฯ ก็เป็นวัตรปฏิบัติของทั้ง ธรรมยุติ และมหานิกาย แต่ธรรมยุติ จะไม่ฉันนมในเวลาหลังเพล หรือ น้ำผลไม้ ที่มีกากปนลงไป ถือว่าเป็นอาหาร ไม่ใช่น้ำปานะ หรือน้ำอัฐบาล
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-------------------------------------------------------------------------
(ข้อมูล การฉันจากวิกิพีเดีย ไม่น่าจะถูกต้องที่กล่าวว่า ภิกษุมหานิกาย กับ ธรรมยุติฉัน 1 มื้อ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว มหานิกายจะฉัน 2 มื้อ คือ เช้า กับ เพล ส่วนธรรมยุติ ฉัน 1 มื้อ คือมื้อเช้ามื้อเดียว)
ฉันเช้า
ฉันเพล
|