เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรมยุติก นิกาย กำเนิดในประเทศไทย สมัย รัชกาลที่ ๔ N146
 


ธรรมยุติก นิกาย กำเนิดในประเทศไทย สมัย รัชกาลที่ ๔

ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติ ของสงฆ์ ให้มีความ ถูกต้อง และเข้มงวด ตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด ถูกต้องตามพระวินัย ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง

เป็นการฟื้นฟู พระพุทธศาสนา ในส่วนที่ บกพร่อง ของพระสงฆ์ไทย ที่มีมาแต่ โบราณ ให้สมบูรณ์ ทั้งพระวินัยปิฎก และพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายาม ของพระวชิรญาณเถระ(รัชกาลที่ ๔) เพื่อช่วยปฏิรูป การคณะสงฆ์ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นใน ประเทศไทย



 
 


ธรรมยุติกนิกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราคณะธรรมยุต

ธรรมยุติกนิกาย หรือคณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระ (ร.๔) ทรงตั้งขึ้น เพื่อ ฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎก อย่างแตกฉาน ทำให้มีพระวิจารณญาณ เกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความ ประพฤติ ปฏิบัติของพระภิกษุสามเณร ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้ มี พระราชดำริ ในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอน พระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติ ของ พระสงฆ์ให้ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย

ตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณา สอบสวน จนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่า ถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้ว พระองค์ ได้ทรงนำ ประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไข ที่พระองค์ เอง เป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมี บุคคลอื่นเห็นชอบ และนิยมตาม จึงได้มี ผู้ประพฤติปฏิบัติ ตาม อย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ

จนเกิดเป็น พระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือ ที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบ ด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม

ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็น สัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติ ข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมา แต่ผิด พระธรรมวินัย)

พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะ การปกครอง คณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือ ได้ยกสถานะ คณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย

ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติ ของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวด ตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตร ปฏิบัติที่เคร่งครัด ถูกต้องตามพระวินัย ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษา พระปริยัติธรรม อย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง

เป็นการฟื้นฟู พระพุทธศาสนา ในส่วนที่ บกพร่อง ของพระสงฆ์ไทย ที่มีมาแต่ โบราณ ให้สมบูรณ์ ทั้งพระวินัยปิฎก และพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายาม ของพระวชิรญาณเถระ เพื่อช่วยปฏิรูป การคณะสงฆ์ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นใ นประเทศไทย

การก่อตั้งคณะสงฆ์ ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่น ซึ่งเป็น พระสงฆ์ ส่วนใหญ่ ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุม และมีมติให้เรียกพระสงฆ์ ส่วนใหญ่ ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย"

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์