เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ๑๖๒ ประกาศพระราชบัญญัติ พระสงฆ์สามเณร แลศิษย์วัด (สมัยรัชกาลที่ ๔) N144
 


๑๖๒ ประกาศพระราชบัญญัติ พระสงฆ์สามเณร แลศิษย์วัด
(สมัยรัชกาลที่ ๔) พ.ศ.๒๓๙๔ - ๒๔๐๔

ณ วันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะแม เอกศก

 
 

                 
                    ๑๖๒ ประกาศพระราชบัญญัติ
                      พระสงฆ์สามเณร แลศิษย์วัด

                                (สมัยรัชกาลที่ ๔)

                 ณ วันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะแม เอกศก


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ด้วยพระธรรมการบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ตั้งแต่โปรด สักเลขมา ทั้งในกรุงเทพฯ แลหัวเมือง คนที่สมสักแล้วหลบหลีก ไปบวชเปนพระภิกษุสงฆ์สามเณร แลแอบอิงเปนศิษย์วัด อยู่มากนัก

แลเมื่อมีคดีความ ปาราชิกบ้าง ความผู้ร้ายบ้าง ความวิวาทตีรันบ้าง ก็ย่อมมีคำกล่าว ในความว่า พระภิกษุ สามเณร แลศิษย์วัด เสพย์สุรา แลน้ำตาล ส้มเมา มายวุ่นวายนั้น ด้วยแทบทุกเรื่อง

จึงเหนว่าพระภิกษุ สามเณร แลศิษย์วัดเหนจะนิยมกันเสพย์สุรา น้ำเมามากนัก  เมื่อจะสังเกตเหตุ สังเกตได้จนว่า เมื่อคนที่มีศรัทธา ฤๅคนถือการเสียเคราะห์เอาไก่ ไปปล่อยวัดไม่ขาด ไก่เหลืออยู่มาก แต่วัดที่เรียกว่า วัดสมถะ อย่างวัดสมอราย วัดรังษีสุทธาวาส แลวัดอื่นๆ ในวัดที่มีนักเลงมากนั้น ไก่ปล่อยหือไม่ขึ้น

ด้วยได้เคยทราบว่า ชาววัดจับเอาไปแลกหมี่ แลสุรากับจีน เจ้าของสุรา เจ้าของหมี่ กินในเวลากลางคืนเสียหมด ใครไม่เชื่อสังเกตสืบดู ก็จะรู้ความเปนจริง ชาวบ้าน ชาวเมือง จะมาเอานักเลงเปนที่บูชาที่ไหว้ท่านอยู่อย่างนี้ ไม่ควรเลย

เพราะฉนั้นบัดนี้ โปรดจะให้ชำระทุกพระอารามหลวง แลวัดขึ้นทั้งปวง จะขอเอาตัว พระภิกษุสามเณร ที่เสพย์สุราน้ำตาลส้ม แลสูบฝิ่นสูบกันชา กินเข้าค่ำเล่นถั่วโปการ พนันต่างๆ แลถืออาวุธเที่ยวฤๅเล่นสวาท สึกเสียแทบให้สิ้นเชิง อย่าให้รกวัดวา อาราม ที่ทำบุญบูชา ถึงศิษย์วัด

แลคนอาศรัยวัดก็เปนคนซื้อสุรา แลน้ำตาลส้ม ให้พระสงฆ์สามเณรกิน แลซื้อฝิ่น กัญชา ให้พระภิกษุสามเณรสูบ ตัวก็กิน แลสูบด้วย ดยมาก แลสมคบพระภิกษุ สามเณร เล่นถั่วโป การพนันต่างๆ เพราะฉะนั้นขอประกาศ มาก่อน โดยข้อตาม ลำดับ นับด้วยตัวเลขต่อไป

(๑) ขอให้ พระราชาคณะ พระครูถานานุกรม เปรียญ เจ้าคณะ วัดเดิม วัดขึ้น แลเจ้า อธิการ ชำระตรวจตราสืบสวน พระภิกษุสามเณร ที่เสพย์สุรา น้ำตาลส้ม สูบฝิ่น กัญชา แลกินข้าวค่ำ เล่นถั่วโป การพนันต่างๆ แลถืออาวุธเที่ยวแลเล่นสวาท ฤๅศิษย์ วัดที่ซื้อสุรา แลน้ำตาลส้มซื้อฝิ่นซื้อกัญชา ให้พระภิกษุสามเณรกินแลสูบ ตัวได้กินได้สูบ

ด้วยพระภิกษุสามเณร แลสมคบพระภิกษุสามเณร เปนศีร์ษะไม้ถืออาวุธแลเที่ยว เล่นถั่วโป การพนันต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ให้รู้จักตัวแล้วก็กำจัด ให้สึกเสีย แล้วให้ไปเสีย ให้พ้นพระอารามหลวงจงได้ แต่อย่าขับไปทั้งเปน ภิกษุ สามเณร จะออกจากวัดนี้ ไปวัดโน้น วุ่นไป ให้ชำระกันเสียในเดือนหก ปีมะแมเอก ศกนี้

(๒) พระสงฆ์สามเณร ที่เจ้าคณะเจ้าอธิการ เห็นว่าควรจะอยู่ในพระอารามหลวง แล วัดขึ้นทั้งปวงนั้น ก็ให้มีนายประกัน แลที่นายประกันไม่มีตัวแล้ว ก็ให้เรียกนายประกัน ใหม่ เรียกตัวนายประกันแต่ที่เปนคฤหัสถ์ มีเย่าเรือน สังกัดมูลนายได้แล้ว ก็พาตัว นายประกันมาให้บาญชี แก่กรมธรรมการ ในกรุงเทพฯ แลธรรมการหัวเมือง ในเดือน หก ปีมะแมเอ๙กศกนี้ พระภิกษุสามเณร ที่มีนายประกันแล้ว ให้เจ้าคณะเจ้าอธิการ บอกบาญชี แก่กรมธรรมการในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองให้ทราบ

ให้เรียกบาญชี ไว้ทุก เดือน ดังบาญชีนิตยภัตร์ เมื่อจะขับไล่ไปเสีย ลาไปสึกไป ฤๅหนีไป ก็ให้บอกกรม ธรรมการ ให้รู้ไว้ก่อนแต่ยังไม่มีคดี ต้องฟ้องร้องขัดขวาง ในศาลกรมธรรมการ ถ้าไม่บอก เมื่อมีคดีสิ่งใดๆ เกิดขึ้น จะตั้งจำหน่ายขับไล่ไปแล้ว ลาไปแล้ว สึกไปแล้ว ฤๅหนีไปก่อนแล้วนั้น ไม่ได้จะต้องเร่งเอาตัว

(๓) ศิษย์วัด แลคฤหัสถ์ อาศรัยวัดทั้งปวง ก็เปนคนในพระราชอาณาจักร มิใช่เปนคน ในพุทธจักร จะให้เลื่อนลอยอยู่ไม่ได้ ให้กรมพระนครบาลในกรุงเทพฯ แลผู้สำเร็จ ราชการ กรมการหัวเมือง จัดแจงหาคน ซึ่งเปนหลักหลายอยู่ใกล้วัด ตั้งเปน นายอำเภอ สำหรับจัดให้ตรวจตราดูศิษย์วัด แลคนอาศรัยวัด ให้รู้จักบิดามารดา แลสังกัดเจ้าหมู่มูลนาย แลให้บาญชีแกกรมธรรมการ ให้รู้ด้วยว่า วัดนั้นๆ เปนอำเภอ คนนั้นๆ เกิดความขึ้นเมื่อใด จะได้เรียกเอาตัวผู้ต้องคดี

(๔) พระสงฆ์ในพระอารามนั้นๆ จะมีคฤหัสถ์เปนศิษย์วัด แลคนอาศรัยวัด ควร พระสงฆ์ จะรับฝากไว้เท่าใด ก็จงยื่นบาญชีแลตระกูลเดิม แลสังกัดมูลนายของคน เหล่านั้น ให้นายอำเภอแลกำนันเดิม ที่อยู่ใกล้วัด ฤๅที่กรมพระนครบาลแลผู้สำเร็จ ราชการเมือง กรมการตั้งขึ้นไว้นั้น ให้รู้จักตัวไว้ เปนคำนับด้วย

ถ้าคนที่ยื่นบาญชี ไว้แล้ว จะไปจากวัดด้วยเหตุใดๆ ก็จงบอกให้นายอำเภอแลกำนั้นรู้ ให้นายอำเภอ แลกำนันตรวจตรา อย่าให้มีคนนอกจาก คนที่พระภิกษุสามเณร ยื่นบาญชี รับไว้นั้นเลย ถ้าสืบว่าใครแอบแฝงอยู่ในวัดพระสงฆ์ ไม่ได้ให้บาญชีรับตัว คนนั้นก็เปนที่รังเกียจ ว่าเปนผู้ร้าย แลคนหนีเจ้าเบี้ย นายเงินเหตุอื่นๆ เพราะฉะนั้น ให้กำนัน นายอำเภอ จับตัวมาส่ง กรมพระสัสดีชำระดู

ถ้าไม่เปนผู้ร้ายหนีคุกหนีทิม แลทาสลูกหนี้ หนีเจ้าเบี้ย นายเงิน เปนแต่คนจรจัดพลัด ฤๅมีสังกัดมิใช่ไพร่หลวง แล้วก็ให้เอาสัก เปนไพร่หลวง จะพระราชทานรางวัลผู้จับ นับตัวผู้แอบอิงอาศรัยวัดนั้น คนละ สองตำลึง แล้วให้ตัวเลข ใช้รางวัลฤๅเข้าเดือน ออกเดือนเข้า ๒ เดือน ถ้าเปนผู้ร้าย หนีคุก หนีทิม ก็ให้ผู้คุมใช้รางวัลสองตำลึง ถ้าเปนทาสลูกหนี้ ก็ให้เจ้าเบี้ยนายเงิน ใช้รางวัล สองตำลึง แล้วรับตัวไป

(๕) พระภิกษุสามเณร ที่ไม่มีนายประกัน แอบอาศรัยอยู่ ในวัดฤๅ ในบ้านก็ดี แลเปน คนเที่ยวลอยเรือ อยู่ก็ดี เข้าแอบอิงอาศรัยอยู่ในบ้านเรือนใครๆ ก็ดี ให้กรมธรรมการ สืบจับตัว นักบวช นอกหมู่นอกคณะ เช่นนี้มา จะบนผู้นำจับรูปละสามตำลึง ถ้าได้ตัว มาแล้ว จะให้สึกออก สักเปนไพร่หลวง แลให้ผู้นั้นใช้เงินรางวัลค่าจับ ฤๅเข้าเดือน ออกเดือน เข้า ๓ เดือน แลพระสงฆ์สามเณร ที่สมคบพระสงฆ์สามเณรไว้ ในกุฎี นอกบาญชี ไม่มีประกันนั้น มีโทษเสมอผู้ผิดด้วยคฤหัสถ์ที่สมคบไว้ ในบ้าน ฤๅในเรือ เรือนของตัว ก็จะให้มีโทษตามโทษานุโทษ

(๖) พระสงฆ์ชราพิการ เสียจักษุ เรียกนายประกันคฤหัสถ์ไม่ได้ ให้เจ้าคณะเจ้า อธิการ พาตัวมาให้ กรมธรรมการดูตัว ฤๅถ้ามาไม่ได้ ก็ให้พาธรรมการไปดูตัว เมื่อเหนว่า ชราแท้แล้ว แลพิการ เปนง่อยเปลี้ยแท้ แลเสียจักษุสองข้าง แลเสียโสด ไม่มีผู้ใด จะรับประกันแท้แล้ว ให้เจ้าคณะ ช่วยอนุเคราะห์ รับประกันไว้เถิด

แลเหนว่าควรจะ ยื่นบาญชี ในคิลานภัตร์ แต่ถ้ากลายเปนคนมีคดีความ ปาราชิกก็ดี ความผู้ร้ายก็ดี แลมีคดีสิ่งใดๆ จะเร่งเอาตัวแต่ผู้รับนิตยภัตร์ของเจ้าคณะผู้รับประกัน อนึ่งพระสงฆ์ ในกรุง ที่ไม่กว้างขวาง เปนภิกษุอนาถา ไม่มีบิดามารดาญาติโยม แลพระสงฆ์สัญจรมา แต่นอกกรุงหัวเมืองไกลไม่มีที่พึ่งไม่มีที่รู้จักคุ้นเคย มีศรัทธา จะใคร่มาอยู่เล่าเรียน อาศรัยในวัดอารามใด เพราะไม่มีผู้อนุเคราะห์รับประกัน

เจ้าคณะฤๅเจ้าอธิการ ไม่รับไว้ ให้พระสงฆ์รูปนั้น มาหาพระธรรมการบดี ฤๅหลวง ธรรม เสนาเจ้ากรมปลัดกรม ในกรมธรรมการ พระวิเชียรปรีชา พระเมธาธิบดี หลวงอุดมจินดา หลวงราชาภิรมย์ เจ้ากรมปลัดกรมในกรมราชบัณฑิต ให้ผู้มี บรรดาศักดิ ซึ่งออกชื่อมาแล้ว ที่พระสงฆ์ มาหาจะให้เปนที่พึ่งนั้น ไต่ถามสืบสวนดู ให้รู้ว่าพระภิกษุรูปนั้นๆ ดั้งเดิมมาแต่ไหน อยู่วัดวาอารามใด มีข้อความเกี่ยวข้อง ต้องไล่ต้องขับจากอารามนั้น อารามนี้ฤๅไม่

ถ้าได้ความว่าเปนภิกษุดี ไม่มีถ้อยความอะไร เปนภิกษุเรียบร้อย มีศรัทธาจะใคร่ ประพฤติพรหมจรรย์ แลมีอุตสาหะ จะใคร่เล่าเรียนปฏิบัติอยู่จริง ก็ให้พระธรรมการบดี หลวงธรรมเสนา ฤๅผู้อื่นที่รับธุระพระสงฆ์รูปนั้น นำความขึ้นกราบทูลพระกรุณา ให้ทรง ทราบ จะทรงพระมหากรุณา โปรดให้มีผู้ช่วยอนุเคราะห์รับรอง แลญาติโยม ปฏิบัติโดยสมควร

(๗) สามเณรแก่ สามเณรโค่ง บวชภิกษุแล้ว อายุตั้งแต่ ๒๕ ขึ้นไปต่ำ ๗๐ ปีลงมา อย่าให้มีในอารามใดๆ ให้บวชเปนภิกษุเสีย ฤๅบวชเปนปะขาว ศิษย์วัดแล้วให้ยื่น บาญชีนายอำเภอ แลกำนันไว้เสีย ถ้าเปนคนชราพิการ เสียจักษุ พระสงฆ์จะเลี้ยงไว้ ด้วย กรุณาก็ได้ แต่ให้กำนันนายอำเภอรู้ไว้ ถ้าไม่พอใจจะเอาไว้ก็ให้เอามาส่ง โรงทาน พระเจ้าแผ่นดินจะทรงพระมหากรุณา ให้พนักงานรับเลี้ยงไว้ในโรงทาน

อนึ่งถ้าพระราชา คณะถานานุกรม พระครูเจ้าอารามเปรียญ พระครูเจ้าคณะ มีความ สงสัยตัว ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่รักจะเปนภิกษุอุปสมบทอยู่ แต่ว่าถ้าสึกออก เปนปะขาว แลคฤหัสถ์ ก็เหนว่าจะลำบากกระดากอยู่ เพราะเคยเปนอุปัชฌาอาจารย์ ที่นับถือของภิกษุสามเณร เปนอันมากอยู่แล้ว มีความชอบใจจะใคร่สึกออกเปน สามเณร แก่อยู่ในวัด เพื่อจะให้ศิษย์ซึ่งยังบวชอยู่

แลผู้ปฏิบัตินับถือแต่นักบวช ได้ปฏิบัติง่าย เหมือนหนึ่งพระปัญญาคัมภีรเถร ซึ่งมา แต่วัดคงคาประมูล มาเปน พระราชา อยู่ในวัดราชสิทธารามนั้น ถ้าพระราชาคณะ ถานานุกรม พระครูเจ้าคณะ เจ้าอาราม รูปใดรูปหนึ่ง มีประสงค์ดังนี้ ก็ให้มาแจ้งความ ตามจริงโดยสุจริต ต่อ พระยา ประสิทธิศุภการ ให้กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ ก็จะทรงพระกรุณาโปรดฯ

ทรงพระอนุญาต ให้สึกเปนแต่สามเณร อยู่ในวัดตามสบาย ไม่ห้ามดอก เพราะ ทรงทราบ รู้จักตัวอยู่แล้ว ไม่เปนที่แอบอิงของคนพาล แต่ภิกษุอนุจรสามัญนั้น ถ้า อายุมากถึง ๗๐ ขึ้นไปแล้วใคร่ออกเปนสามเณร ให้มาหาท่านเจ้าคณะให้เจ้าคณะ พาตัวมาแจ้งความ ต่อกรมธรรมการให้ทราบ โดยสุจริตตามจริงแล้ว ก็จะทรงพระมหา กรุณา โปรดให้สึกเปนแต่สามเณรอยู่อาศรัย ในพระอารามแลวัดนั้นๆ ต่อไป แต่ให้ยื่น บาญชีไว้ต่อกรมธรรมการให้ทราบ อย่าให้เปนที่แอบอิงของคนฉกรรจ์ จะหลบหลีก เจ้าขุนมูลนายบวชขวางๆ รีๆ ไม่ต้องการนั้น

ถ้ามีสามเณรโค่ง อายุมากกว่า ๒๕ ขึ้นไป๗๐ ลงมา ถ้าแอบแฝงอยู่ในวัด ให้กรม ธรรมการ แลกำนัน นายอำเภอ ไปสืบจับ ถ้าได้ตัวมาก็จะเอาสักเ ปนไพร่หลวง ผู้นำจับจะได้รับพระราชทานรางวัล ตามจำนวน สามเณรโค่ง ซึ่งนำจับมาได้ คนละ สามตำลึงแล้วจะให้ (สามเณรโค่งที่เปนไพร่หลวง นั้น) เข้าเดือนใช้รางวัล กำหนด สามเดือน นอกจากสามเดือนที่ต้องเข้าเวรเปนปรกติ

(๘) ในแขวงกรุงเทพฯ แลเมืองนคร เขื่อนขันธ์ เมืองนนทบุรี ทั้งปวง ห้ามอย่าให้คน เสียจริต เปนพระภิกษุ สามเณรก็ดี เปนคฤหัสถ์ก็ดี แอบอิงอาศรัยอยู่ในวัดเปน อันขาด ฤๅเปนญาติสนิทฤๅ เปนครูอาจารย์จะพาไป แลจะส่งไปหัวเมืองไกล ไม่ได้ ก็ดี ฤๅพระสงฆ์ผู้ใด เปนแพทย์รักษาคนเสียจริต จะใคร่รับฝากคนเสียจริตไว้รักษา ตามวิชาตัวฤๅกรุณาก็ดี ก็ให้กักขัง ไว้ให้แน่นหนาอย่าปล่อยให้เที่ยวไปมา

แลให้มา รับประกันตัวไว้ แต่นายอำเภอแลกำนัน แลให้นายอำเภอแลกำนัน ตรวจตรา ว่า คนเสียจริต อยู่ในวัดวาอารามใด ถ้าไม่มีประกัน ก็ให้จับตัวมาส่งยัง โรงหลวง ที่เปน ที่รักษาคนเสียจริต ณกรมพระนครบาล อย่าให้ละเลยไว้ ถ้ามีคน เสียจริตปลอมคนดี เข้ามา ในพระบรมมหาราชวัง มีผู้จับได้ ผู้จับควรจะ ได้รับ พระราชทาน รางวัล สองชั่ง ลงมา ชั่งหนึ่งขึ้นไป ตามเวลาเปนกลางวัน แลกลางคืน แลสถานที่ เข้าไปลึก แลตื้น นั้น แลจะให้ชำระว่าคนเสียจริตนั้น มาแต่ไหนเปนคน ของใคร เมื่อสืบไปได้ความว่า เปนคนอาศรัยวัด เที่ยวเลื่อนลอยอยู่ไม่มีเจ้าของ

รางวัลค่าจับ นั้น จะต้องให้ นายอำเภอ แลกำนันที่อยู่ใกล้วัด กับศิษย์วัดทั้งปวง เรี่ยไรช่วยกันใช้ ถ้าได้ความว่า อาศรัยอยู่กับพระสงฆ์สามเณร แห่งใดแห่งหนึ่ง เปนเจ้าของ รางวัลค่าจับจะต้องให้ ศิษย์ แลบิดามารดาของศิษย์ ที่อยู่วัดด้วย แลผู้ปฏิบัติเปนญาติโยมส่งสำรับ ฤๅนาย ประกันของพระสงฆ์สามเณรรูปนั้น ช่วยกันใช้

ถ้าไม่มีญาติโยมผู้ปฏิบัติ จะต้องให้ นายอำเภอ แลกำนัน กับผู้รับนิตยภัตร์ ของ เจ้าคณะ แลนายประกันช่วยกันใช้ ถ้าพระอารามหลวงมีข้าพระ ให้เจ้ากรมปลัดกรม ข้าพระเอาใจใส่ตรวจตรา อย่าให้มี คนเสียจริต อยู่ในพระอารามหลวงได้ เมื่อได้ความว่า คนเสียจริต อยู่ในพระอาราม หลวงใด

เมื่อได้ความว่าคนเสียจริต อยู่ในพระอารามหลวง ที่มีข้าพระแล้ว เจ้ากรม ปลัดกรม ข้าพระต้องช่วยกันใช้ ถ้าคนเสียจริตไปจากบ้านเรือนผู้ใด ผู้นั้นต้องใช้ รางวัล ค่าจับ ส่วนคนเสียจริต ที่เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เพราะต้องคลางแคลง ว่า เปนคนร้าย มาทำมารยา เปนคนเสียจริต มีพระราชกำหนดกฎหมายว่า ให้ต้องรับ พระราชอาชญาเฆี่ยน แล้วให้จำไว้ในคุกจนตาย

(๙) ภิกษุสามเณรใด ได้เกี้ยวพาลผู้หญิง ให้เปนที่รังเกียจก็ดี เปนปาราชิกเมถุน กับหญิงก็ดี เล่นสวาท สัมผัสฤๅ ถึงชำเราก็ดี ยังบวชอยู่ก็ดี ฤๅสึกไปแล้วยังไม่ครบ กำหนด สามปีก็ดี ภิกษุสามเณรใดๆ เสพย์สุราน้ำตาลส้ม สูบฝิ่น สูบกันชา เล่นโป เล่นถั่ว แลอื่นๆ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ยังบวชอยู่ก็ดี สึกไปแล้วยังไม่ครบสามเดือน ก็ดี เมื่อยังไม่มีโจทย์ฟ้อง มีความร้อนตัว กลัวผิด ให้รีบมาสารภาพลุแก่โทษ ต่อกรม ธรรมการ ตามความสัจความจริง อย่าอำพรางปิดบังความชั่วไว้

แลซัดทอดพวกเพื่อน ผู้ทำผิดด้วยกัน เช่นกัน ตามรู้ตามเห็นให้สิ้นเชิง แลผู้ผิดที่มา ลุแก่โทษดังนี้ จะทรง พระมหากรุณายกโทษให้ ไม่ให้ต้องรับพระราชอาญา ถ้ามิใช่ ลูกหมู่ไพร่หลวง ไม่ต้อง สักเปนไพร่หลวง แลไม่ต้องเสียค่าฤชา จะต้องเสีย แต่สมุด ดินสอเล็กน้อย แล้วจะมอบตัวคืนให้เจ้าหมู่มูลนาย แลบิดามารดาไป ถ้าไม่สารภาพ ลุแก่โทษแล้ว แลมีผู้ฟ้องผู้ซัดทอด

เมื่อชำระไปมีผู้ยืนยันกล่าวหา ตั้งแต่สองปาก ขึ้นไป จะให้เอา เปนสัจ ถ้าเปนความ ปาราชิกมหันตโทษ สึกไปแล้วพ้นกำหนด สามปี จึงพ้นเขตร ถ้ายังอยู่ในสามปี ลงมา จะโปรดให้เอาตัวมาชำระ ถ้าเปนการ เสพย์สุรา น้ำตาลส้ม แลอื่นๆ สึกไปแล้ว เกินสามเดือน จึงพ้นโทษ ถ้าสึกไปยัง ไม่ครบ สามเดือน จะให้เอ าตัวมาชำระ เอาเปน สัจแล้วสักเปนไพร่หลวง ถ้าหลบหนี ไปจะบน ผู้นำจับรูปละห้า ตำลึง ได้ตัวมาจะให้ใช้ค่าสินบนนำจับด้วย

(๑๐) คฤหัสถ์ ศิษย์วัด ฤๅชาวบ้าน เปนคนสอพลอซื้อสุรา น้ำตาลส้ม ให้พระสงฆ์ สามเณร กิน ซื้อฝิ่นซื้อกัญชา ให้พระสงฆ์สามเณรสูบ แลตัวได้กินได้สูบกับพระสงฆ์ สามเณร แลเล่นโป เล่นถั่ว แลเล่นอื่นๆ กับพระสงฆ์ สามเณร ก็ให้มาสารภาพ ลุแก่โทษ ตามความสัจต่อกรมธรรมการ ซัดพวกเพื่อนผู้ทำผิดด้วยกัน ตามรู้ตามเห็น ให้สิ้นเชิง จะทรงพระมหากรุณาโปรด ไม่ให้ต้องรับพระราชอาญา แลไม่ให้ต้อง มีโทษ ไม่ให้ต้องเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ถ้าไม่สารภาพลุแก่โทษโดยดี มีผู้ซัดทอดถึง ถ้าภิกษุสามเณรยังบวชอยู่ในวัดก็ดี ฤๅสึกแล้วยังไม่พ้นเขตรสามปี ฤๅสามเดือน ตามกำหนดดังกล่าวแล้วนั้น คฤหัสถ์ ผู้นั้น ก็ไม่พ้นโทษ จะโปรดให้เอาตัวมาชำระ เอาเปนสัจ เพราะฉะนั้นเมื่อบุตรหลาน ญาติพี่น้องแลบ่าวไพร่ของผู้ใด ไปบวช อยู่ในวัดวาอารามใด ๆ ให้บิดามารดาญาติ พี่น้องแลเจ้าหมู่มูลนาย สืบสาวฟังดู ถ้าสงสัย ฤๅความผิดอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

แลบิดามารดาญาติพี่น้อง มีความร้อนตัว กลัวว่าจะพลอยได้ความผิดด้วย ฤๅเจ้าหมู่ มูลนาย เสียดายว่า ลูกหมู่ ของตัว จะต้องตกไปเปนไพร่หลวง ก็ให้มาว่ากล่าว เกลี้ยกล่อม ภิกษุสามเณร รูปนั้นๆ ให้สึกออกเสียโดยดี แลพาตัวผู้ผิดมาให้การ สารภาพ ลุแก่โทษ ต่อกรมธรรม การตามสัจจริง

แลให้ซัดทอดพวกเพื่อน ผู้ทำผิด ด้วยกัน ตามรู้ตามเห็นให้สิ้นเชิง จะทรงพระมหา กรุณา โปรดยกโทษผู้ที่ทำผิด ให้เปนความชอบแก่ผู้ที่พาตัวผู้ผิด มาสารภาพุแก่ โทษนั้น ไม่ให้ผู้ผิดนั้นต้องรับ พระราชอาญา แลไม่ต้องมีโทษ ไม่ให้ต้องเสียสิ่งหนึ่ง สิ่งใด จะมอบตัวคืนให้เจ้าหมู่ มูลนาย แลบิดามารดาไป

ถ้าไม่มาสารภาพลุแก่โทษ แล้วชำระไป มีผู้ยืนยันกล่าวหา ตั้งแต่สองปากขึ้นไป จะเอาเปนสัจ ให้มีโทษดังกล่าวแล้ว ถ้าเปนไพร่หลวง แลหมู่ ไพร่หลวงเดิม ทำผิด ดังนี้ จะให้ลงพระราชอาญา ๓๐ ที ถ้าจะไถ่โทษห้าทีต่อแสน คิดเปนเงินหกตำลึง ถ้าไม่มีเงินใช้ให้เข้าเดือน นอกเดือนที่เข้าเวร เปนปรกติใช้ ๔ เดือน แลผู้ที่มี ความผิด ดังกล่าวแล้วนี้ ถ้าหลบหนีไป จะเสียสินบนให้ตามจับ ได้ตัวมาแล้ว จะทำ โทษดังกล่าวแล้ว แลให้ใช้สินบน แก่ผู้จับด้วยคนละห้าตำลึง ฤๅเข้า เดือนใช้การ แทน ๔ เดือน

(๑๑) อนึ่งในตระกูลในบ้านใด เมื่อคราวป่วยไข้ แลเหตุอื่นๆ ที่ควรจะนิมนต์ พระภิกษุ สามเณร ไปรักษาพยาบาล ฤๅอยู่เปนเพื่อน ต้องนอนค้างแรม อยู่ในบ้านในเรือนก็ดี แลนิมนต์ภิกษุไปสวดที่ไว้ศพ ต้องค้างแรมอยู่ในบ้านเรือนก็ดี ให้จดหมายยื่น แก่ นายอำเภอ แลกำนัน แลแก่ผู้มีบรรดาศักดิ์ ที่อยู่ใกล้เปนที่พระยา แลพระหลวง ขุนหมื่น ผู้ใดผู้หนึ่งให้รู้ไว้ด้วย เมื่อมีถ้อยความขึ้น ถ้ามีผู้กล่าวหาเปนความ ปาราชิก แลเรื่องอื่นๆ จะได้ชำระโดยง่าย

ผู้ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียง ถ้าเห็นการแปลกประหลาดอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ให้ว่ากล่าว ห้ามปรามเสีย แลให้มาแจ้งความ แก่ผู้มีบรรดาศักดิ์ ที่ใกล้เคียง แลนายอำเภอกำนัน
ให้รู้ด้วย ถ้าผู้เจ้าภาพผู้เจ้าของบ้านเจ้าของเรือน ไม่จดหมายมายื่นต่อ นายอำเภอ แลกำนัน แลผู้มีบรรดาศักดิ์ตามที่กล่าวแล้ว มีผู้กล่าวหาด้วยความ ปาราชิก แล ความเรื่องอื่นๆ ซึ่งเปนความชั่วต่างๆ จะชำระเอาเปนสัจ แลผู้ที่บ้านใกล้ เรือนเคียง ไม่ช่วยเอาใจใส่ดูแลว่ากล่าวบ้าง

แลรู้เห็นแล้วไม่มาแจ้งความต่อ นายอำเภอ กำนัน แลผู้มีบรรดาศักดิ์ ก็จะให้เสีย รางวัดมากแลน้อย ตามที่อยู่ใกล้ อยู่ไกล ดังมีใน พระราชบัญญัติ แต่ก่อนนั้น ให้เจ้า คณะหมายไปให้ทั่วทุกพระอาราม วัดเดิม แลวัดขึ้นในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองทั้งปวง

ประกาศมาณวันจันทร เดือนหก ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะแมเอ๙กศก

 



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์