เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ N139
 


พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑

กระทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑๐
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 
 


                พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔)

                                พ.ศ. ๒๕๖๑


                สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
                        ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
                                เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน


                สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
              
            มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจา นุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๕ ตรี เพื่อให้การอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตลอดจนการดูแล การปกครองคณะสงฆ์ เป็นไปเพื่อส่งเสริม การเผยแผ่หลักธรรม ของพระพุทธศาสนา ให้เกิดการพัฒนาจิตใจ และปัญญา และมีการรักษาพระธรรมวินัย ของคณะสงฆ์ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่พุทธศาสนิกชน ทั่วไป พระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ในการแต่งตั้ง สถาปนา และ ถอดถอนสมณศักดิ์ ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม ตามพระราชบัญญัตินี้”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคเจ็ดของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

“ความในมาตรานี้ ไม่กระทบกระเทือนพระราชอำนาจ ที่จะทรงพระกรุณาโปรด หรือ มีพระราชวินิจฉัย ให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น”

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๒ มหาเถรสมาคม ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรง ตำแหน่ง ประธานกรรมการ โดยตำแหน่ง และกรรมการอื่น อีกไม่เกินยี่สิบรูป ซึ่ง พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุ ซึ่งมีพรรษาอันสมควร และมีจริยวัตรในพระธรรมวินัย ที่เหมาะสมแก่การปกครอง คณะสงฆ์

การแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง และการดำเนินการตามมาตรา ๑๕ (๔) และวรรคสอง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยจะทรงปรึกษาหารือ กับสมเด็จพระสังฆราช ก่อนก็ได้”

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๔ กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง อยู่ใน ตำแหน่ง คราวละสองปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้”

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่ง ตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการ มหาเถรสมาคม ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) มรณภาพ
(๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๓) ลาออก
(๔) พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการให้ออก

ในกรณีที่กรรมการมหาเถรสมาคม พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ พระมหากษัตริย์อาจ ทรงแต่งตั้ง พระภิกษุตามมาตรา ๑๒ รูปใดรูปหนึ่งเป็นกรรมการแทน

กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่ง เท่ากับวาระ ที่เหลืออยู่ ของผู้ซึ่งตนแทน”

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๕ ทวิ พระบรมราชโองการตามมาตรา ๑๐ วรรคเจ็ด การแต่งตั้งกรรมการ มหาเถรสมาคม ตามมาตรา ๑๒ และการให้ กรรมการมหาเถรสมาคม พ้นจาก ตำแหน่ง ตามมาตรา ๑๕ ให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ”

มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๒๐/๑ เพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ ในเขตปกครองคณะสงฆ์

ภายใต้บังคับมาตรา ๒๐/๒ การแต่งตั้ง และการกำหนดอำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด ในกฎมหาเถรสมาคม”

มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๐/๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

มาตรา ๒๐/๒ การแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าคณะใหญ่ และเจ้าคณะภาค หากมี พระราชดำริเป็นประการใด ให้ดำเนินการไปตาม พระราชดำรินั้น

สำหรับการแต่งตั้ง และถอดถอนพระภิกษุ ผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งอื่น ให้ดำเนินการไปตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะมีพระราชดำริ เป็น ประการอื่น”

มาตรา ๑๑ ให้กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อน วันที่ พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไป จนกว่าพระมหากษัตริย์ จะทรง แต่งตั้ง กรรมการมหาเถรสมาคม ขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

 



 
หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์