พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๕
เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
และ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยคณะสงฆ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และ ยินยอม ของ สภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" [๑]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศใน พระราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
มาตรา ๔ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บรรดา กฎกระทรวง สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับ และระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ที่ใช้บังคับ อยู่ในวันประกาศ พระราชบัญญัตินี้ ในราชกิจจานุเบกษา ให้คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้ง กับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พระบัญชา สมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับ หรือระเบียบของมหาเถรสมาคม ยกเลิก หรือมีความ อย่างเดียวกัน หรือขัดหรือแย้งกัน หรือกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา ๔ บรรดาอำนาจหน้าที่ ซึ่งกำหนดไว้ใน สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับและ ระเบียบเกี่ยวกับ คณะสงฆ์ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพระภิกษุ ตำแหน่งใด หรือ คณะกรรมการสงฆ์ใด ซึ่งไม่มีใน พระราชบัญญัตินี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจ กำหนด โดยกฎมหาเถรสมาคม ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ พระภิกษุตำแหน่งใดรูปใด หรือหลายรูปร่วมกันเป็นคณะตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา ๕ ทวิ ในพระราชบัญญัตินี้[๒]คณะสงฆ์ หมายความว่า บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชา อุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะ ปฏิบัติ ศาสนกิจ ในหรือนอกราชอาณาจักร
คณะสงฆ์อื่น หมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรือ อนัมนิกาย
พระราชาคณะ หมายความว่า พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้ง และสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ ตั้งแต่ ชั้นสามัญ จนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ
สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ หมายความว่า สมเด็จพระราชา คณะ ที่ได้รับสถาปนา ก่อนสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น ถ้าได้รับสถาปนาในวัน เดียวกัน ให้ถือรูปที่ได้รับสถาปนา ในลำดับก่อน
มาตรา ๕ ตรี พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ในการแต่งตั้งสถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ [๓]
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
สมเด็จพระสังฆราช
มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง [๔]
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ ของ มหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณ ะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ ของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จ พระราชาคณะ รูปอื่น ผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ รองลงมาตามลำดับ และสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช
มาตรา ๘ สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการ คณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชา สมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัด หรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม
มาตรา ๙ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงลาออกจากตำแหน่ง หรือ พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรด ให้ออกจากตำแหน่ง[๕]
พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของสมเด็จพระสังฆราช หรือตำแหน่ง อื่นใด ตามพระราชอัธยาศัยก็ได้
มาตรา ๑๐ ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโส สูงสุด โดยสมณศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[๖]
ถ้าสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ มหาเถรสมาคม ที่เหลืออยู่เลือก สมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง
ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราช ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติ หน้าที่ ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะได้ทรงแต่งตั้ง ให้สมเด็จพระราชาคณะ รูปใด รูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน
ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราช มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ตามวรรคสาม หรือ สมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ แทนสมเด็จพระสังฆราช ไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้ปฏิบัติ หน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช ตามมาตรานี้ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) มรณภาพ
(๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๓) ลาออก
(๔) ทรงพระกรุณาโปรดให้ออก
หมวด ๒
มหาเถรสมาคม
มาตรา ๑๒ มหาเถรสมาคม ประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรง ตำแหน่ง ประธานกรรมการโดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง และพระราชาคณะ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกิน สิบสองรูป เป็นกรรมการ[๗]
มาตรา ๑๓ ให้อธิบดีกรมการศาสนา เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
มาตรา ๑๔ กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งอยู่ใน ตำแหน่ง คราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๑๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่ง ตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการ มหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) มรณภาพ
(๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๓) ลาออก
(๔) สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
ในกรณีที่กรรมการมหาเถรสมาคม พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สมเด็จพระสังฆราช อาจ ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง เป็นกรรมการแทน
กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้ง ตามความในวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่ง ตามวาระของ ผู้ซึ่ง ตนแทน
มาตรา ๑๕ ทวิ มหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้[๘]
(๑) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
(๒) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
(๓) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การ สาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์
(๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น
เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคม มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่ง มีมติ หรือออกประกาศ โดยไม่ขัด หรือแย้งกับกฎหมาย และพระธรรมวินัย ใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุรูปใด หรือคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา ๑๙ เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ ตามวรรคหนึ่งก็ได้
มาตรา ๑๕ จัตวา[๙] เพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัย และเพื่อความเรียบร้อย ดีงามของ คณะสงฆ์ มหาเถรสมาคม จะตรากฎมหาเถรสมาคม เพื่อกำหนดโทษ หรือวิธีลงโทษ ทางการปกครอง สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ประพฤติ ให้เกิด ความเสียหาย แก่พระศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ก็ได้
พระภิกษุและสามเณรที่ ได้รับโทษตามวรรคหนึ่ง ถึงขั้นให้สละสมณเพศ ต้องสึก ภายใน สามวัน นับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ
มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการ มหาเถรสมาคม ไม่อาจมาประชุม หรือไม่อยู่ ในที่ประชุม มหาเถรสมาคม และมิได้มอบหมายให้ สมเด็จพระราชาคณะ รูปใด รูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน ให้สมเด็จพระราชา คณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ซึ่งอยู่ใน ที่ประชุม เป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่แทน[๑๐]
มาตรา ๑๗ การประชุมมหาเถรสมาคม ต้องมีกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ โดยการแต่งตั้ง รวมกันมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของกรรมการทั้งหมด จึงเป็น องค์ประชุม
ระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม ให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม
มาตรา ๑๘[๑๑] ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการ มหาเถรสมาคมแทน ตำแหน่ง ที่ว่างตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ให้ถือว่ามหาเถรสมาคม มีกรรมการเท่า จำนวนที่เหลือ อยู่ในขณะนั้น
มาตรา ๑๙[๑๒] สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้ง กรรมการมหาเถรสมาคม หรือ คณะ อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามมติมหาเถรสมาคม ประกอบด้วยพระภิกษุ หรือ บุคคลอื่น จำนวนหนึ่ง มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่อง ที่จะเสนอต่อมหาเถรสมาคม และปฏิบัติ หน้าที่อื่น ตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย โดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคม
การจัดให้มีคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ การแต่งตั้งกรรมการ หรือ อนุกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการหรืออนุกรรมการ และระเบียบการ ประชุม ให้เป็นไปตามระเบียบมหาเถรสมาคม
หมวด ๓
การปกครองคณะสงฆ์
มาตรา ๒๐[๑๓] คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครอง ของมหาเถรสมาคม
การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม
มาตรา ๒๐ ทวิ[๑๔] เพื่อประโยชน์แก่ การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและ ส่วน ภูมิภาค ให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ ในเขตปกครองคณะสงฆ์
การแต่งตั้ง และการกำหนดอำนาจหน้าที่ เจ้าคณะใหญ่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด ในกฎมหาเถรสมาคม
มาตรา ๒๑ การปกครองคณะสงฆ์ส่ วนภูมิภาค ให้จัดแบ่งเขตปกครอง ดังนี้
(๑) ภาค
(๒) จังหวัด
(๓) อำเภอ
(๔) ตำบล
จำนวนและเขตปกครองดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม
มาตรา ๒๒ การปกครองคณะสงฆ์ ส่วนภูมิภาค ให้มีพระภิกษุเป็นผู้ปกครอง ตามชั้น ตามลำดับดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าคณะภาค
(๒) เจ้าคณะจังหวัด
(๓) เจ้าคณะ อำเภอ
(๔) เจ้าคณะตำบล
เมื่อมหาเถรสมาคม เห็นสมควรจะจัดให้มี รองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้าคณะตำบล เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะนั้น ๆ ก็ได้
มาตรา ๒๓ การแต่งตั้งถอดถอน พระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม
หมวด ๔
นิคหกรรมและการสละสมณเพศ
มาตรา ๒๔ พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรม ก็ต่อเมื่อกระทำการ ล่วงละเมิด พระธรรมวินัย และนิคหกรรม ที่จะลงแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นนิคหกรรม ตามพระธรรมวินัย
มาตรา ๒๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔ มหาเถรสมาคม มีอำนาจตรากฎ มหาเถร สมาคม กำหนดหลักเกณฑ์และวิธิการปฏิบัติ เพื่อให้การลงนิคหกรรมเป็นไป โดย ถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม และให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ที่มหาเถรสมาคม จะกำหนดใ นกฎมหาเถรสมาคม ให้มหาเถรสมาคม หรือพร ภิกษุ ผู้ปกครองสงฆ์ ตำแหน่งใด เป็นผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้ล่วงละเมิด พระธรรมวินัย กับทั้งการกำหนด ให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอันยุติ ในชั้นใด ๆ นั้นด้วย
มาตรา ๒๖ พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด ให้ได้ รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลา ที่ได้ทราบคำ วินิจฉัย นั้น
มาตรา ๒๗[๑๕] เมื่อพระภิกษุใดต้อง ด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับ นิคหกรรมนั้น
(๒) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ
(๓) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง
(๔) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
ให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม
พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัย ให้สละสมณเพศ ตามวรรคสอง ต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น
มาตรา ๒๘ พระภิกษุรูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องสึก ภายในสามวัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
มาตรา ๒๙ พระภิกษุรูปใดถูกจับ โดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และ เจ้าอาวาส แห่งวัด ที่พระภิกษุรูปนั้น สังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม หรือพนักงาน สอบสวน ไม่เห็นสมควร ให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้น มิได้ สังกัด ในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงาน สอบสวน มีอำนาจจัดดำเนินการ ให้พระภิกษุรูปนั้น สละสมณเพศเสียได้
มาตรา ๓๐ เมื่อจะต้องจำคุก กักขังหรือขังพระภิกษุรูปใด ตามคำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตาม คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล มีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้น สละ สมณเพศได้ และให้ รายงาน ให้ศาลทราบ ถึงการสละสมณเพศนั้น
หมวด ๕
วัด
มาตรา ๓๑[๑๖] วัดมีสองอย่าง
(๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
(๒) สำนักสงฆ์
ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด ในกิจการทั่วไป
มาตรา ๓๒ การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด และการขอรับ พระราชทาน วิสุงคามสีมา ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดที่ ถูกยุบเลิกให้ตกเป็ นศาสนสมบัติกลาง
มาตรา ๓๒ ทวิ[๑๗] วัดใดเป็นวัดร้าง ที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัย ในระหว่างที่ยัง ไม่มีการยุบเลิกวัด ให้กรมการศาสนา มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาวัดนั้น รวมทั้งที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และทรัพย์สินของวัดนั้นด้วย
การยกวัดร้างขึ้นเป็นวัด มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ วิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓ ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้
(๑) ที่วัด หรือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
(๒) ที่ธรณีสงฆ์ คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
(๓) ที่กัลปนา คือ ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัด หรือพระศาสนา
มาตรา ๓๔[๑๘] การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้อง และได้รับ ค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดย พระราชกฤษฏีกา
ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความ ขึ้นต่อสู้กับวัด หรือกรมการศาสนา แล้วแต่กรณีในเรื่องทรัพย์สิน อันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง
มาตรา ๓๕[๑๙] ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ ใน ความรับผิดชอบ แห่งการบังคับคดี
มาตรา ๓๖ วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง และถ้าเป็นการสมควรจะให้มีรอง เจ้าอาวาส หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วยก็ได้
มาตรา ๓๗ เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้
(๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
(๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัย อยู่ใน วัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่ง มหาเถรสมาคม
(๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอน พระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
(๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล
มาตรา ๓๘ เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้
(๑) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาส เข้าไปอยู่อาศัยในวัด
(๒) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
(๓) สั่งให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่ หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด หรือให้ทำทัณฑ์บน หรือให้ขอขมาโทษ
ในเมื่อบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ในวัดนั้น ประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาส ซึ่งได้สั่งโดยชอบ ด้วย พระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของ มหาเถรสมาคม
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส หรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส มีอำนาจและ หน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส
การแต่งตั้ง ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ กำหนด ในกฎมหาเถรสมาคม
หมวด ๖
ศาสนสมบัติ
มาตรา ๔๐ ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท
(๑) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่ งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง
(๒) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง
การดูแลรักษา และการจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการ ศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนา เป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย
การดูแลรักษา และจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๑ ให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติ กลาง ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา แล้วให้ใช้งบประมาณนั้นได้
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๒[๒๐] ผู้ใดมิได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอนจาก ความเป็นพระอุปัชฌาย์ ตามมาตรา ๒๓ แล้วกระทำการบรรพชา อุปสมบทแก่ บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
มาตรา ๔๓[๒๑] ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ จัตวา วรรคสอง มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ วรรคสามหรือมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
มาตรา ๔๔[๒๒] ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุ เพราะต้องปาราขิกมาแล้ว ไม่ว่า จะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ หรือไม่ก็ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่ โดย กล่าวความเท็จ หรือปิดบังความจริง ต่อพระอุปัชฌาย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี
มาตรา ๔๔ ทวิ[๒๓] ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
มาตรา ๔๔ ตรี[๒๔] ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์ หรือคณะสงฆ์อื่น อันอาจก่อให้เกิด ความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมวด ๘
เบ็ดเตล็ด
มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกษุ ซึ่งได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง ในการปกครอง คณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความ ในประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๔๖[๒๕] การปกครองคณะสงฆ์อื่น ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมายเหตุ
๑. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติเพิ่มเติมอีก ๔ มาตรา คือมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และ มาตรา ๒๑ ดังนี้
มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของ มหาเถรสมาคม ที่ออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ยังคงใช้บังคับ ได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ วัดที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๐ ให้พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้ง และสถาปนาให้มีสมณศักดิ์อยู่ก่อน วันใช้ พระราชบัญญัตินี้ ยังมีสมณศักดิ์นั้นต่อไป ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการมหาเถร สมาคม เจ้าคณะใหญ่ กรรมการ หรืออนุกรรมการใด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ หรือตามกฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ยังคงดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ การดำรงตำแหน่งห รือจนกว่ามหาเถรสมาคมจะมีมติเป็นประการอื่น
มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
๒. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
๒.๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
๒.๒ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
ดาวน์โหลดไฟล์ PDF
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕
ตามที่ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น
อาศัยเหตุผลพอสรุปได้ว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้ใช้บังคับ เป็นเวลา นานแล้ว บทบัญญัติบางมาตราไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพการณ์ ในปัจจุบัน และในบางกรณีมิได้บัญญัติไว้ ทำให้เกิดปัญหาในทาง ปฏิบัติ จึงเป็นการสมควร ที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้เหมาะสมต่อไป โดยเพิ่มเติมบทนิยาม เพื่อให้ได้ความชัดเจน และ สะดวกในการตีความ ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการ สถาปนา สมเด็จพระสังฆราช ให้มีเพียงพระองค์เดียว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา ขัดแย้งในวงการคณะสงฆ์
กำหนดขั้นตอนการแต่งตั้ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน สมเด็จพระสังฆราช กำหนดอำนาจ หน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่ของ มหาเถรสมาคมให้ชัดเจน กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ ในการปกครองคณะสงฆ์ เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของ มหาเถร สมาคม ปรับปรุงบทบัญญัติว่า ด้วยการสละสมณเพศของพระภิกษุ พร้อมทั้งกำหนด ให้พระภิกษุ ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศนั้น ต้องสึกภายในสามวันนับ แต่วันที่ ได้รับทราบ คำ วินิจฉัยนั้น เพิ่มเติม
บทบัญญัติให้วัดมีฐานะ เป็นนิติบุคคล และให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนวัด เนื่องจาก ได้มีการ แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๗๒ มีผลให้วัดไม่มีฐานะ เป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ จึงต้องบัญญัติ ให้วัดมีฐานะ เป็น นิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายนี้ เพื่อประโยชน์ในการปกครอง ดูแลรักษา ศาสนสมบัติ ของวัด เพิ่มเติมบทบัญญัติ ว่าด้วยการดูแลรักษาศาสนสมบัติ ของ วัดร้าง ซึ่งพระราช บัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มิได้บัญญัติไว้
ปรับปรุงบท บัญญัติ ว่าด้วยการ โอนกรรมสิทธิ์ ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติ กลาง ให้แก่ ส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้อง และได้รับ ค่าผาติกรรม แล้ว ให้กระทำโดย พระราชกฤษฎีกาเพื่อให้สะดวดรวดเร็วยิ่งขึ้น และได้บัญญัติ เพิ่มเติม ห้ามมิให้ผู้ใด ยกอายุความขึ้นต่อสู้ที่ศาสนสมบัติกลาง พร้อมทั้งกำหนด ให้เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพื่อเป็นการคุ้มครอง ที่ศาสนสมบัติกลาง อันเป็นทรัพย์สิน ของพระพุทธศาสนา
เพิ่มเติมบทกำหนดโทษ ผู้ที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้าย ต่อสมเด็จพระสังฆราช เนื่องจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มิได้บัญญัติ ไว้ อีกทั้งปรับปรุงบท กำหนดโทษให้สอดคล้อง กับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ประกาศใช้นี้ เป็นการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ให้เหมาะสม ชัดเจนยิ่งขึ้น มิใช่เป็นการแก้ไขยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ หรือ เปลี่ยนแปลง โครงสร้างใหม่แต่ประการใด เพียงแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ให้เหมาะสม สอดคล้อง กับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น ในทางปฏิบัติ โดยเป็นการแก้ไข พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จำนวน ๑๖ มาตรา และเพิ่มเติมจำนวน ๙ มาตรา ดังนี้
๑. เพิ่มเติมมาตรา ๕ ทวิ และมาตรา ๕ ตรี เพื่อกำหนดบทนิยาม ให้ได้ความชัดเจน สะดวกในการตีความ เนื่องจากพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์พ.ศ. ๒๕๐๕ มิได้กำหนด บทนิยามไว้ และเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการแต่งตั้ง และถอดถอนสมณศักดิ์ ของ พระภิกษุ
๒. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วย การสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช ให้มีเพียงพระองค์เดียว กำหนดขั้นตอนการ สถาปนา สมเด็จพระสังฆราช และการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
๓. แก้ไขมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และ มาตรา ๒๐ และ เพิ่มเติม มาตรา ๑๕ ทวิ มาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๑๕ จัตวาเพื่อปรับปรุงบทบัญญัติ ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่ ของ มหาเถรสมาคม กรรมการมหาเถร สมาคม คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ มหาเถรสมาคม เพื่อให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น
๔. เพิ่มเติมมาตรา ๒๐ ทวิ เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติ โดยกำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ ทำหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์
๕. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๗ เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติ โดยกำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ ทำหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์
๖. แก้ไขมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ และเพิ่มเติมมาตรา ๓๒ ทวิ เพื่อ ปรับปรุง บทบัญญัติ ว่าด้วยวัด การดูแลรักษาวัด ทรัพย์สินของวัด วัดร้าง และ ศาสนสมบัติกลางให้เหมาะสม
๗. แก้ไขมาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ ทวิ และเพิ่มเติมมาตรา ๔๔ ทวิ มาตรา ๔๔ ตรี เพื่อปรับปรุง บทกำหนดโทษให้เหมาะสม
๘. แก้ไขมาตรา ๔๖ เกี่ยวกับคณะสงฆ์อื่น ให้ชัดเจน ปรากฏรายละเอียดต่อท้าย
จากแถลงการณ์คณะสงฆ์ฉบับพิเศษ ๒๕ มีนาคม ๒๕๐๕
ที่มา : https://www.watmoli.com/wittaya-one/1190/
|