เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  แก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2 ครั้ง เพิ่มพระราชอำนาจ N109
 


สนช. แก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2 ครั้ง เพิ่มพระราชอำนาจ
ตั้งสมเด็จพระสังฆราช และกรรมการ มหาเถรสมาคม


แก้ไขครั้งแรก: ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช 
จากกรณี ความขัดแย้ง เรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่

แก้ไขครั้งที่สอง : ให้พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม
และเปลี่ยนองค์ประกอบกรรมการมหาเถรสมาคม

การแก้ไของค์ประกอบกรรมการมหาเถรสมาคมครั้งนี้
จะทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจ ในการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็น ต้องเลือกพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์เท่านั้น ซึ่งต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้พระสงฆ์ ซึ่งสามารถเป็น กรรมการมหาเถรสมาคม ต้องมีสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระราชาคณะ” หรือ “พระราชาคณะ” เท่านั้น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

17 ก.ค. 2561 โดย iLaw

สนช. แก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2 ครั้ง เพิ่มพระราชอำนาจ
ตั้งสมเด็จพระสังฆราช และกรรมการ มหาเถรสมาคม



ในสมัยของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมถึงสองครั้ง และ กระบวนการพิจารณาทั้งสองครั้ง ก็เป็นไปอย่างรวดเร็วใช้เวลา ในการพิจารณา เห็นชอบ เป็นกฎหมาย ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในด้านเนื้อหาสาระการแก้ไข เพิ่มเติมสองครั้ง มีสาระสำคัญคือ การเพิ่มอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในการ แต่งตั้งผู้บริหารคณะสงฆ์
 
แก้ไขครั้งแรก : ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช 
 
การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ครั้งแรกของ สนช. หรือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 เกิดขึ้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2559 เมื่อสมาชิก สนช. จำนวน 81 คน นำโดย พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ เสนอแก้ไขประเด็นการแต่งตั้ง สมเด็จ พระสังฆราช ในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ให้ “พระมหากษัตริย์ ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการ”
 
จากเดิมมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนด ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบ ของมหาเถรสมาคม เสนอนาม สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช และในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้เสนอนาม สมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น ผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ รองลงมา ตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช
 
สมณศักดิ์ คือ บรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานแก่ภิกษุ
 
แก้ไขครั้งแรก : ความขัดแย้ง เรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่
 
แม้เหตุผลทางการของการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ครั้งแรก คือ การกล่าวถึงโบราณ ราชประเพณีที่ให้พระราชอํานาจ พระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช
 
แต่สถานการณ์วงการสงฆ์ ขณะนั้นคือการขาดตำแหน่งผู้นำคณะสงฆ์ ตั้งแต่ 24 ตุลาคม 2556 เมื่อสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสิ้นพระชนม์ แม้ต่อมา วันที่ 5 มกราคม 2559 มหาเถรสมาคมจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 มีมติเลือกสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือ “สมเด็จช่วง” ในฐานะสมเด็จ พระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ แต่ก็ผู้ยื่นเรื่องคัดค้านมติดังกล่าว
 
ผู้คัดค้านสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราช เช่น อดีตพระพุทธอิสระ ยื่นหนังสือ ต่อรัฐบาลไม่ให้ทูลเกล้าสมเด็จช่วง เพราะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ขณะที่ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ยื่นร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าขั้นตอน การเสนอชื่อ สมเด็จช่วง มีความถูกต้องหรือไม่ ส่วนผู้สนับสนุนสมเด็จช่วง นำโดย พระเมธีธรรมมาจารย์ เลขาศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา แห่งประเทศไทย โดยมีการ ชุมนุมใหญ่ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อสนับสนุนมติมหาเถรสมาคม
 
ความขัดแย้งในวงการสงฆ์ ทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ประกาศว่า จะไม่ทูลเกล้าฯ รายชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งทำให้ สนช. เสนอร่างแก้ไขให้พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจ ในการแต่งตั้ง สมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2560 บังคับใช้ ต่อมา วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จ พระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นสมเด็จ พระสังฆราชองค์ใหม่
 
แก้ไขครั้งที่สอง: ให้พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม
 
การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ครั้งที่สอง หรือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 โดย สนช. เกิดขึ้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2561 ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเสนอ โดย คณะรัฐมนตรี โดยเสนอให้ สนช. พิจารณาเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมในจำนวน 8 มาตรา คือ มาตรา 5 ตรี, มาตรา 12, มาตรา 14, มาตรา 15 มาตรา 15 ทวิ, มาตรา 20 ทวิ, มาตรา 10 วรรคเจ็ด และมาตรา 20/2 สำหรับหลักการของกฎหมายฉบับนี้ คือ การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากขึ้น
 
ประเด็นสำคัญ ของการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่สองคือ การให้อำนาจพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง กรรมการมหาเถรสมาคม โดยปรากฎอยู่ในมาตรา 5 ตรี ที่ระบุว่า “... พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ในการแต่งตั้งสถาปนา และถอดถอน สมณศักดิ์ของพระภิกษุ ในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม” ซึ่งตาม กฎหมายเดิม กรรมการมหาเถรสมาคมมีที่มาจากสองส่วน คือ  มาจากพระสงฆ์ ซึ่งมีสมณศักดิ์ “สมเด็จพระราชาคณะ” ทุกรูป และมาจากการพระสงฆ์ ซึ่งมีสมณศักดิ์ “พระราชาคณะ” จำนวน 12 รูป โดยสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แต่งตั้ง

แก้ไขครั้งที่สอง: เปลี่ยนองค์ประกอบกรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับนี้ ได้เปลี่ยนองค์ประกอบของ มหาเถรสมาคมใหม่ ซึ่งปรากฎ ในมาตรา 12 ระบุว่า “มหาเถรสมาคม ประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรง ตำแหน่งประธานกรรมการ โดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูป ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุ ซึ่งมีพรรษา อันสมควรและมีจริยวัตร ในพระธรรมวินัยที่เหมาะสม แก่การปกครอง คณะสงฆ์”

โดยมาตรา 14 ระบุเพิ่มเติมว่า กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้ง ทั้ง 20 รูปจะอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และหากหมดวาระก็อาจ ได้รับ การแต่งตั้งกลับเข้าไปอีกได้

การแก้ไของค์ประกอบกรรมการมหาเถรสมาคมครั้งนี้ จะทำให้พระมหากษัตริย์ ทรงมี อำนาจ ในการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็น ต้อง เลือกพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์เท่านั้น ซึ่งต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้พระสงฆ์ ซึ่ง สามารถเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ต้องมีสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระราชาคณะ” หรือ “พระราชาคณะ” เท่านั้น

หนังสือพุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์