เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

     เรื่องทั่วไป ในวงการศาสนา ข่าวในวงการสงฆ์ กฎหมายปกครองสงฆ์
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ (พรบ.สงฆ์) N101
 

(โดยย่อ)

พรบ.สงฆ์ มี 6 หมวด

หมวด ๑ สมเด็จพระสังฆราช
หมวด ๒ มหาเถรสมาคม
หมวด ๓ การปกครองคณะสงฆ์
หมวด ๔ นิคหกรรม และ การสละสมณเพศ
หมวด ๕ วัด
หมวด ๖ ศาสนสมบัติ
หมวด ๗ บทกำหนดโทษ
หมวด ๘ เบ็ดเตล็ด

ที่มา : เว็บไซต์ราชกิจจา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

                                   พระราชบัญญัติ
                                      คณะสงฆ์
                                   พ.ศ. ๒๕๐๕

                                 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
                     ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
                           เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

     โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง กฎหมาย ว่าด้วยคณะสงฆ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้



มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕”

มาตรา ๒[๑]
  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓
  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔

มาตรา ๔
  ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ บรรดากฎกระทรวง สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับ และระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ ในราชกิจจานุเบกษา ให้คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้ง กับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับหรือระเบียบของมหาเถรสมาคมยกเลิก หรือมีความอย่างเดียวกัน หรือขัดหรือแย้งกัน หรือกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น

 
มาตรา ๕  เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา ๔ บรรดาอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ใน สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับ และ ระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพระภิกษุตำแหน่งใด หรือ คณะกรรมการสงฆ์ใด ซึ่งไม่มีในพระราชบัญญัตินี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจ กำหนดโดยกฎมหาเถรสมาคม ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพระภิกษุตำแหน่งใด รูปใด หรือหลายรูปร่วมกันเป็นคณะ ตามที่เห็นสมควรได้

มาตรา ๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้



หมวด ๑

สมเด็จพระสังฆราช


มาตรา ๗  พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

มาตรา ๘  สมเด็จพระสังฆราชท รงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชา การคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับ กฎหมาย พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม

มาตรา ๙  สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

มาตรา ๑๐ 
ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มี อาวุโส สูงสุด โดยพรรษา ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราช จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราช จะได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้ามิได้ทรง แต่งตั้งไว้ ให้สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทน สมเด็จ พระสังฆราช ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ ให้สมเด็จพระราชาคณะ รูปอื่น ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ในกรณีที่สมเด็จพระราชา คณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราชได้ ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสรองลงมา โดยพรรษา ตามลำดับ ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้ปฏิบัติ หน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามมาตรานี้ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๑  สมเด็จพระสังฆราชพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) มรณภาพ
(๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๓) ลาออก
(๔) ทรงพระกรุณาโปรดให้ออก



หมวด ๒

มหาเถรสมาคม

มาตรา ๑๒  มหาเถรสมาคมประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการโดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่ต่ำกว่าสี่รูป และไม่เกินแปดรูปเป็นกรรมการ

มาตรา ๑๓  ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม โดยตำแหน่ง และให้กรมการศาสนา ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม

มาตรา ๑๔
  กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง อยู่ใน ตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๑๕  นอกจากการพ้นจากตำแหน่ง ตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการ มหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) มรณภาพ
(๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๓) ลาออก
(๔) สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
ในกรณีที่กรรมการมหาเถรสมาค มพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สมเด็จพระสังฆราชอาจ ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง เป็นกรรมการแทน

กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้ง ตามความในวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่ง ตามวาระ ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๑๖  ในเมื่อประธานกรรมการ มหาเถรสมาคม ไม่อาจมาประชุมหรือไม่อยู่ ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม และมิได้มอบหมายให้สมเด็จพระราชา คณะรูปใดรูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน ให้มหาเถรสมาคม แต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน การประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อการแต่งตั้งนี้ ให้กรรมการซึ่งเป็น สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยพรรษาเป็นประธานแห่งที่ประชุม

มาตรา ๑๗  การประชุมมหาเถรสมาคม ต้องมีกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ โดยการแต่งตั้งรวมกัน มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเป็น องค์ประชุม

ระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม ให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม

มาตรา ๑๘  มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ให้เป็นไปโดย เรียบร้อย เพื่อการนี้ให้มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบหรือ ออกคำสั่ง โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย และพระธรรมวินัย ใช้บังคับได้

มาตรา ๑๙  การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม และการให้กรรมการ มหาเถรสมาคม ออกจากตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ ลงนาม รับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช



หมวด ๓

การปกครองคณะสงฆ์

มาตรา ๒๐  การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม

มาตรา ๒๑  การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้จัดแบ่งเขตปกครองดังนี้
(๑) ภาค
(๒) จังหวัด
(๓) อำเภอ
(๔) ตำบล
จำนวนและเขตปกครองดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎมหาเถรสมาคม

มาตรา ๒๒  การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้มีพระภิกษุเป็นผู้ปกครอง ตามชั้น ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าคณะภาค
(๒) เจ้าคณะจังหวัด
(๓) เจ้าคณะอำเภอ
(๔) เจ้าคณะตำบล

เมื่อมหาเถรสมาคมเห็นสมควรจะจัดให้มีรองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้าคณะตำบล เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะนั้น ๆ ก็ได้

มาตรา ๒๓  การแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุ อันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม



หมวด ๔

นิคหกรรม และ การสละสมณเพศ

มาตรา ๒๔  พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรม ก็ต่อเมื่อกระทำการล่วงละเมิด พระธรรม วินัย และนิคหกรรม ที่จะลงแก่พระภิกษุ ก็ต้องเป็นนิคหกรรม ตามพระธรรมวินัย

มาตรา ๒๕  ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔ มหาเถรสมาคม มีอำนาจตรากฎมหาเถร สมาคม กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้การลงนิคหกรรม เป็นไปโดย ถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม และให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ที่ มหาเถรสมาคม จะกำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ให้มหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุ ผู้ปกครองสงฆ์ตำแหน่งใด เป็นผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ ผู้ล่วงละเมิด พระธรรมวินัย กับทั้งการกำหนดให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอันยุติในชั้นใด ๆ นั้นด้วย

มาตรา ๒๖  พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด ให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบ คำวินิจฉัยนั้น

มาตรา ๒๗  พระภิกษุรูปใดต้องคำวินิจฉัย ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก ไม่ยอมรับ นิคหกรรมนั้น หรือประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัย เป็นอาจิณ หรือไม่สังกัด อยู่ใน วัดใดวัดหนึ่ง กับทั้งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มหาเถรสมาคมมีอำนาจวินิจฉัย และมี คำสั่งให้พระภิกษุรูปนั้น สละสมณเพศเสียได้ พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัย ให้สละสมณ เพศ ตามความในวรรคก่อน ต้องสึกภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น

มาตรา ๒๘  พระภิกษุรูปใด ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

มาตรา ๒๙  พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหา ว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงาน สอบสวน หรือพนักงานอัยการ ไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และเจ้าอาวาสแห่งวัด ที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด ไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม หรือพนักงานสอบสวน ไม่เห็นสมควร ให้ เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวน มีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้

มาตรา ๓๐  เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใด ตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตาม คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล มีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้น สละสมณเพศ เสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น



หมวด ๕

วัด



มาตรา ๓๑  วัดมีสองอย่าง
(๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
(๒) สำนักสงฆ์

มาตรา ๓๒
  การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด และการขอรับ พระราชทาน วิสุงคามสีมา ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง ในกรณี ยุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดที่ถูกยุบเลิก ให้ตกเป็นศาสน สมบัติกลาง

มาตรา ๓๓  ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้
(๑) ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
(๒) ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
(๓) ที่กัลปนา คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศ แต่ผลประโยชน์ให้วัด หรือพระศาสนา

มาตรา ๓๔  ที่วัด และที่ธรณีสงฆ์จะ โอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และ ห้ามมิให้บุคคลใด ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัด ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด และที่ธรณีสงฆ์

มาตรา ๓๕  ที่วัด และที่ธรณีสงฆ์ เป็นทรัพย์สิน ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการ บังคับคดี

มาตรา ๓๖  วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง และถ้าเป็นการสมควร จะให้มี รองเจ้าอาวาส หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วยก็ได้

มาตรา ๓๗  เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้

(๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี

(๒) ปกครอง และ สอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่ใน วัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของ มหาเถรสมาคม

(๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์

(๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล

มาตรา ๓๘  เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้
(๑) ห้ามบรรพชิต และ คฤหัสถ์ ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาส เข้าไปอยู่อาศัย ในวัด

(๒) สั่งให้บรรพชิต และ คฤหัสถ์ ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส ออกไปเสีย จากวัด

(๓) สั่งให้บรรพชิต และ คฤหัสถ์ ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด หรือให้ทำทัณฑ์บน หรือให้ขอขมาโทษในเมื่อบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ในวัดนั้น ประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาส ซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

มาตรา ๓๙  ในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส หรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส มีอำนาจและหน้าที่ เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส

การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด ในกฎมหาเถรสมาคม



หมวด ๖

ศาสนสมบัติ



มาตรา ๔๐  ศาสนสมบัติ แบ่งออกเป็นสองประเภท

(๑) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนา ซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง

(๒) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง การดูแลรักษา และจัดการ ศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่า กรม การศาสนา เป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วยการดูแลรักษาและจัดการ ศาสนสมบัติ ของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๑  ให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำงบประมาณประจำปี ของศาสนสมบัติ กลาง ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา แล้ว ให้ใช้งบประมาณนั้นได้



หมวด ๗

บทกำหนดโทษ

มาตรา ๔๒  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน

มาตรา ๔๓  ผู้ใด

(๑) หมดสิทธิที่จะได้รับบรรพชาอุปสมบท โดยต้องปาราชิกมาแล้ว แต่มารับบรรพชา อุปสมบท โดยปิดบังความจริง

(๒) ต้องปาราชิก แล้วไม่ละการแต่งกายอย่างเพศบรรพชิต ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือน

มาตรา ๔๔  ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์ไทย อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือ ความแตกแยก ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ



หมวด ๘

เบ็ดเตล็ด



มาตรา ๔๕  ให้ถือว่าพระภิกษุ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในการปกครอง คณะสงฆ์ และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความ ในประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๔๖  การปกครองคณะสงฆ์อื่น นอกจากคณะสงฆ์ไทยให้เป็นไป ตาม กฎกระทรวง

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส.  ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัด ดำเนิน กิจการคณะสงฆ์ มิใช่เป็นกิจการ อันพึงแบ่งแยกอำนาจดำเนินการ ด้วย วัตถุประสงค์ เพื่อการถ่วงดุลแห่งอำนาจ เช่นที่เป็นอยู่ตามกฎหมายในปัจจุบัน และโดยที่ระบบเช่นว่านั้น เป็นผลบั่นทอนประสิทธิภาพ แห่งการดำเนินกิจการ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ ให้สมเด็จพระสังฆราชองค์สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ ทางมหาเถรสมาคม ตามอำนาจกฎหมาย และพระธรรมวินัย ทั้งนี้ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา

ที่มา : เว็บไซต์ราชกิจจา

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์