เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ปัจฉิมยามแห่งราตรี ก่อนปรินิพพาน และ สาวกองค์สุดท้ายชื่อสุภัททะ 458
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๑-๑๒๒

ปัจฉิมยามแห่งราตรี และ สาวกองค์สุดท้าย


           [๑๒๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดีเมืองกุสินารา และสาลวัน อันเป็น ที่แวะพักแห่ง พวกเจ้า มัลละ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่ง แม่น้ำ หิรัญวดี เมืองกุสินารา และ สาลวัน อันเป็น ที่แวะพักแห่งพวก เจ้ามัลละ

ครั้นแล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอจงช่วยตั้งเตียงให้เราหันศีรษะ ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ เราเหน็ดเหนื่อยแล้ว จักนอน

ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ตั้งเตียงหันพระเศียร ไปทางทิศอุดร ระหว่าง ไม้สาละทั้งคู่ พระผู้มีพระภาค ทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาท เหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ฯ

           [๑๒๙] สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้ เหล่านั้นร่วง หล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคต เพื่อบูชา แม้ดอก มณฑารพ อันเป็น ของทิพย์ก็ตกลง มาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยัง พระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา

แม้จุณแห่งจันทน์ อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไป ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคตฯ

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ไม้สาละ
ทั้งคู่ เผล็จดอกบานสพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพ เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อัน เป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา

ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ ประโคมอยู่ใน อากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพนับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่อง สักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่า สักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้

           [๑๓๐] สมัยนั้น ท่านพระอุปวาณะ ยืนถวายงานพัด พระผู้มีพระภาค เฉพาะพระพักตร์ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงขับท่านพระอุปวาณะว่า ดูกรภิกขุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่าท่านอุปวาณะ รูปนี้เป็นอุปัฏฐากอยู่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมาช้านาน ก็และเมื่อเป็นเช่นนั้น ในกาลครั้งสุดท้าย พระผู้มีพระภาคทรงขับท่าน อุปวาณะว่า

ดูกรภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา ดังนี้อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็น ปัจจัย ให้พระผู้มี พระภาคทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุเธอจงหลีกไป อย่ายืน ตรงหน้าเรา ลำดับนั้นท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านอุปวาณะรูปนี้ เป็นอุปัฏฐากอยู่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาค มาช้านาน ก็แลเมื่อเป็นเช่นนั้น

ในกาลครั้งสุดท้าย พระผู้มีพระภาคยังทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุเธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา ดังนี้อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้พระผู้มี พระภาคทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุเธอจงหลีกไปอย่ายืนตรงหน้าเราฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เทวดาในหมื่นโลกธาตุมาประชุมกัน โดยมาก เพื่อจะเห็นตถาคต เมืองกุสินาราสาลวัน อันเป็นที่แวะพัก แห่งพวก เจ้ามัลละ เพียงเท่าใด โดยรอบถึง ๑๒ โยชน์ ตลอดที่เพียงเท่านี้ จะหาประเทศ แม้มาตรว่า เป็นที่จรดลงแห่งปลายขนทราย อันเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี พวกเทวดายกโทษอยู่ว่า พวกเรามาแต่ที่ไกลเพื่อจะเห็นพระตถาคต

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราวใน ปัจฉิมยามแห่งราตรี ในวันนี้แหละ พระตถาคตจักปรินิพพาน ก็ภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่ รูปนี้ ยืนบังอยู่ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกเราไม่ได้เห็นพระตถาคตในกาลเป็น ครั้งสุดท้าย

อ. ข้าแต่องค์ผู้เจริญ ก็พวกเทวดาเป็นอย่างไร กระทำไว้ในใจเป็นไฉนฯ มีอยู่
อานนท์ เทวดาบางพวกสำคัญอากาศว่าเป็นแผ่นดิน สยายผม ประคองแขนทั้งสอง คร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาคจะเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตจะเสด็จปรินิพาน เสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก จักอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้

ทวดาบางพวกสำคัญแผ่นดินว่าเป็นแผ่นดิน สยายผม ประคองแขน ทั้งสอง คร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีเท้าอันขาด แล้วรำพันว่าพระผู้มี พระภาคจักเสด็จ ปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตจักเสด็จ ปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มี พระจักษุในโลก จักอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้ ส่วนเทวดาพวกที่ ปราศจาก ราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้น โดยธรรมสังเวชว่า สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์จะพึงได้ในสังขารนี้แต่ ที่ไหน ฯ

           [๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน พวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในทิศ ทั้งหลายย่อม มาเพื่อเฝ้าพระตถาคต พวกข้าพระองค์ย่อม ได้เห็น ได้เข้าไปนั่ง ใกล้ภิกษุเหล่านั้น ผู้ให้เจริญใจ ก็โดยกาลล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์ จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ พวกภิกษุ ผู้ให้เจริญใจ

ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของ กุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ

๑. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระ
ตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
๒. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระ
ตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
๓. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระ
ตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
๔. สังเวชนียสถาน อันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระ
ตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้

สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่าพระตถาคต
ประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ก็ดี พระตถาคตทรงยัง อนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน แล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไป ยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

           [๑๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พวกข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติในมาตุคาม อย่างไร
การไม่เห็น อานนท์

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อการเห็นมีอยู่ จะพึงปฏิบัติอย่างไร
การไม่เจรจา อานนท์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อต้องเจรจา จะพึงปฏิบัติอย่างไร
พึงตั้งสติไว้ อานนท์

           [๑๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ จะพึงปฏิบัติ ในพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร ดูกรอานนท์ พวกเธอจงอย่า ขวนขวาย เพื่อบูชาสรีระตถาคตเลย จงสืบต่อพยายาม ในประโยชน์ของตนๆเถิด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของตนๆ มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ผู้เลื่อมใส ยิ่งในตถาคตมีอยู่ เขาทั้งหลายจักกระทำการบูชาสรีระตถาคต

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เขาทั้งหลาย จะพึงปฏิบัติในพระสรีระของตถาคตอย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ พึงปฏิบัติในสรีระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระ พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญก็เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไรฯ

ดูกรอานนท์ เขาห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อ
ด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระจักรพรรดิด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้ว เชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทำ จิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน ถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ สร้างสถูป ของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้า จักรพรรดิ ด้วยประการฉะนี้แล


พวกกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตเป็นต้น พึงปฏิบัติในสรีระตถาคตเหมือนที่เขาปฏิบัติ พระสรีระ พระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของ ตถาคตไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง

ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิต ให้เลื่อมใส ในสถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ฯ

[๑๓๔] ดูกรอานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวก ถูปารหบุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคลจำพวก หนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่ง
สาวกของพระตถาคต เป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่ง
พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่ง ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงเป็นถูปารหบุคคล ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระผู้มี พระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้ เลื่อมใสในสถูปนั้น แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ เพราะอาศัย อำนาจประโยชน์ข้อนี้แล พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเป็น
ถูปารหบุคคล ชนเป็นอันมากยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของ พระปัจเจก สัมพุทธเจ้านั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้า แต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ข้อนี้แล พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเป็นถูปารหบุคคล ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็น ถูปารหบุคคล
ชนเป็นอันมากยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระธรรมราชา ผู้ทรงธรรมนั้น พวกเขายังจิต ให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล พระเจ้าจักรพรรดิ จึงเป็น ถูปารหบุคคล ดูกรอานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้แล ฯ

[๑๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่วิหาร ยืนเหนี่ยว ไม้คันทวย ร้องไห้อยู่ว่า เรายังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทำ อยู่ แต่พระศาสดาของเรา ซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์ เรา ก็จักปรินิพพานเสีย

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งถาม พวกภิกษุว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไปไหน พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านอานนท์นั้น เข้าไปสู่วิหารยืนเหนี่ยว ไม้คันทวย ร้องไห้อยู่ว่า เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทำอยู่ แต่พระศาสดา ของเรา ซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์เรา ก็จักปรินิพพานเสีย

พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกะภิกษุ รูปหนึ่งว่าเธอจงไปเถิดภิกษุ จงบอก อานนท์ตามคำ ของเราว่า ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ถึงที่ใกล้ ครั้นเข้าไปหาแล้วบอกว่า ท่านอานนท์ พระศาสดา รับสั่งหาท่าน ท่านพระอานนท์รับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านว่า อย่าเลย
อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก ร่ำไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่ หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของ ชอบใจ ทั้งสิ้นต้องมี
เพราะฉะนั้นจะพึงได้ใน ของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

ดูกรอานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบ ด้วยเมตตา ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หาประมาณมิได้มา ช้านาน เธอได้กระทำบุญไว้แล้วอานนท์ จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มี อาสวะโดยฉับพลัน ฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด ได้มีแล้วในอดีตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มี พระภาคทั้งหลาย นั้นอย่างยิ่ง ก็เพียงนี้เท่านั้น คือเหมือนอานนท์ของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด จักมีในอนาคตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายนั้น อย่างยิ่งก็เพียงนี้เท่านั้น คือ เหมือนอานนท์ของเรา อานนท์เป็นบัณฑิต ย่อมรู้ว่า นี้เป็นกาลเพื่อจะเข้าเฝ้า พระตถาคต นี้เป็นกาลของ พวกภิกษุ นี้เป็นกาลของพวกภิกษุณี นี้เป็นกาลของ พวกอุบาสก นี้เป็นกาลของ
พวกอุบาสิกา นี้เป็นกาลของพระราชา นี้เป็นกาล ของราชมหาอำมาตย์ นี้เป็นกาลของพวกเดียรถีย์ นี้เป็นกาลของพวกสาวก เดียรถีย์ ฯ

[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้ มีอยู่ใน อานนท์

อัพภูตธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน (อัพภูตธรรมคือธรรมะที่เป็นเรื่องอัศจรรย์)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

1) ถ้าภิกษุบริษัทเข้าไปเพื่อจะเห็นอานนท์ ด้วยการที่ได้เห็นภิกษุบริษัทนั้นย่อมยินดี

2)
ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้ด้วยการ แสดงธรรม ภิกษุบริษัทนั้น ก็ยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น

3)
ถ้าภิกษุณีบริษัท ... อุบาสกบริษัท ... อุบาสิกาบริษัทเข้าไปเพื่อจะเห็นอานนท์ ด้วยการที่ได้เห็น อุบาสิกาบริษัทนั้นย่อมยินดี

4)
ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้ด้วย การแสดง อุบาสิกาบริษัทนั้น ก็ยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อม นิ่งไปในเวลานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ในอานนท์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในพระเจ้าจักรพรรดิ
ถ้าขัตติยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยการที่ได้เฝ้า ขัตติยบริษัทนั้นย่อม ยินดี ถ้าพระเจ้า จักรพรรดิมีพระราชดำรัสในขัตติยบริษัทนั้น แม้ด้วย พระราชดำรัส ขัตติยบริษัทนั้นก็ยินดี ขัตติย บริษัทยังไม่อิ่มเลย พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงนิ่งไป ในเวลานั้น ถ้าพราหมณ์บริษัท ... คฤหบดี บริษัท ... สมณบริษัท เข้าไปเฝ้าพระเจ้า จักรพรรดิ ด้วยการที่ได้เฝ้า สมณบริษัทนั้นย่อมยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราช ดำรัสในสมณบริษัทนั้น แม้ด้วยพระราชดำรัส สมณ บริษัทนั้นก็ยินดี สมณบริษัทยัง ไม่อิ่มเลย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนิ่งไปในเวลานั้นฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการ มีอยู่ในอานนท์ ฉันนั้น
เหมือนกัน
       1) ถ้าภิกษุบริษัทเข้าไปเพื่อจะเห็นอานนท์ ด้วยการที่ได้เห็น ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมยินดี
       2) ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้ด้วยการแสดง ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมยินดี ภิกษุบริษัท ยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไป ในเวลานั้น
       3) ถ้าภิกษุณีบริษัท ... อุบาสกบริษัท ... อุบาสิกาบริษัท เข้าไปเพื่อจะเห็น อานนท์ ด้วยการที่ได้เห็น อุบาสิกาบริษัทนั้น ย่อมยินดี
       4) ถ้าอานนท์ แสดงธรรม ในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้ด้วยการแสดง อุบาสิกา บริษัทนั้น ก็ยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ในอานนท์ ฯ

           [๑๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย นครใหญ่เหล่าอื่นมีอยู่ คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จ ปรินิพพาน ในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์ มหาศาล คฤหบดี มหาศาลที่เลื่อมใส อย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้ ท่านเหล่านั้น จักกระทำการบูชา พระสรีระของพระตถาคต ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธออย่าได้กล่าว อย่างนี้ว่า เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองดังนี้เลย

ดูกรอานนท์ แต่ปางก่อน มีพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า มหาสุทัสสนะ ผู้ทรงธรรม เป็น พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มี มหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ

เมืองกุสินารานี้ มีนามว่า กุสาวดี เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยาวด้าน ทิศบูรพา และทิศประจิม ๑๒ โยชน์ โดยกว้างด้านทิศทักษิณ และทิศอุดร ๗ โยชน์ กุสาวดี ราชธานีเป็น เมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย

ดูกรอานนท์ อาลกมันทา ราชธานีแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นเมืองที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีชนมาก ยักษ์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย แม้ฉันใด กุสาวดี ราชธานีก็ฉันนั้น เหมือนกัน เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย กุสาวดีราชธานีมิได้เงียบจากเสียงทั้ง ๑๐ ประการ ทั้ง กลางวัน และกลางคืน คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียง ขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคม และเสียงเป็นที่ ๑๐ ว่า ท่านทั้งหลายจงบริโภค จงดื่ม จงเคี้ยวกิน จงไปเถิดอานนท์ เธอจงเข้าไปใน เมืองกุสินารา แล้วบอกแก่พวก เจ้ามัลละเมือง กุสินาราว่า

ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจักปรินิพพาน ในปัจฉิมยาม แห่งราตรีในวันนี้ พวกท่านจงรีบออกไปกัน เถิดๆ พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจ ในภายหลังว่า พระตถาคตได้ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เฝ้า พระตถาคต ในกาลครั้งสุดท้าย ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มี พระภาคแล้ว นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปในเมืองกุสินาราลำพังผู้เดียว

สมัยนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคารด้วยกรณียกิจบางอย่าง ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปยัง สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ครั้นแล้วได้บอกแก่พวกเจ้า มัลละเมืองกุสินาราว่า

ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจักเสด็จปรินิพพานในปัจฉิมยาม แห่งราตรีในวันนี้ พวกท่านจงรีบออกไปเถิดๆ พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจใน ภายหลังว่าพระตถาคต ได้ ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เฝ้า พระตถาคตในกาลเป็น ครั้งสุดท้าย

พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสาและปชาบดีได้ สดับคำนี้ของท่านพระอานนท์แล้ว เป็นทุกข์เสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ใจ บางพวกสยายพระเกศา ประคองหัตถ์ ทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีบาทอันขาดแล้ว ทรงรำพันว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จปรินิพพาน เสียเร็วนัก พระสุคตจักเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก จักอันตรธานเสีย เร็วนัก ฯ

ครั้งนั้น พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสา ปชาบดี เป็นทุกข์เสียพระทัย เปี่ยมไป
ด้วยความทุกข์ใจ เสด็จเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของเจ้ามัลละ ทั้งหลาย เสด็จเข้าไปหา ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า ถ้าเราจักให้พวก เจ้ามัลละเมืองกุสินารา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทีละองค์ๆ พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา จักมิได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทั่วกัน ราตรีนี้จักสว่างเสีย ถ้ากระไร เราควรจะจัดให้พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราถวายบังคมพระผู้มีพระภาค โดยลำดับ สกุลๆ ด้วยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีนามอย่างนี้ พร้อมด้วยโอรส ชายา บริษัทและอำมาตย์ ขอถวายบังคมพระบาท ทั้งสองของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ฯ

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จัดให้พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราถวายบังคม พระผู้มี
พระภาคโดยลำดับสกุล ด้วยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละ มีนาม อย่างนี้ พร้อมด้วยโอรส ชายา บริษัท และอำมาตย์ ขอถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า โดยอุบายเช่นนี้ ท่านพระอานนท์ ยังพวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ให้ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเสร็จโดยปฐมยามเท่านั้นฯ

           [๑๓๘] ก็สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา สุภัทท ปริพาชกได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี ในวันนี้แหละ สุภัททปริพาชกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวก ปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์ และปาจารย์กล่าวอยู่ว่าพระตถาคต อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า จะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจัก ปรินิพพาน ในปัจฉิมยาม แห่งราตรี ในวันนี้แหละ

อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสในพระสมณโคดม อย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการที่เราจะพึง ละธรรมอันเป็นที่สงสัย นี้ได้ ฯ

ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้า มัลละ เข้าไป
หาท่านพระอานนท์

ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชก ผู้เฒ่า ผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์ กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า จะอุบัติในโลก ในบางครั้ง บางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพาน ในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ

อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสใน พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดย ประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านอานนท์ ขอโอกาส เถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม

เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มี พระภาคทรงลำบาก แล้ว แม้ครั้งที่สอง สุภัททปริพาชก ... แม้ครั้งที่สาม สุภัททปริพาชกก็ได้กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับ ถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็น อาจารย์และปาจารย์ กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า จะอุบัติ ในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยาม แห่งราตรี ในวันนี้แหละอนึ่ง ธรรมเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใส ในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถ จะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดย
ประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ ก็ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชก

ว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาค ทรงลำบากแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำ ท่านพระอานนท์เจรจา กับ สุภัททปริพาชก

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มารับสั่งว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะ สุภัททะจงได้เฝ้าตถาคต สุภัททะจักถามปัญหา อย่างใดอย่าง หนึ่งกะเรา จักมุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งความเบียดเบียน

อนึ่ง เราอันสุภัททะถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจักรู้ ทั่วถึงข้อความนั้นโดยฉับพลันทีเดียว ฯ

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะ พระผู้มีพระภาค
ทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือบูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมด ไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด ดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔

ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ในธรรม วินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย

           [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรม เป็นเครื่อง นำออก ไม่มีในภายนอกแต่ธรรมวินัยนี้ ฯ

สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะ ผู้รู้ทั่วถึง ก็
ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายฯ

           [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึง ได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคตรัส ว่า ดูกรสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวัง
อุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน
เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลาย เต็มใจแล้วจึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่ง บุคคลในข้อนี้

สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวัง
บรรพชา หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือนเมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี เมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเถิดฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่น
นั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว สุภัททปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านอานนท์ ผู้มีอายุ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษกด้วยอันเตวาสิกา ภิเษก ในที่เฉพาะพระพักตร์ ในพระศาสนานี้

สุภัททปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค ก็ท่านสุภัททปริพาชก ได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่ช้านานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ที่กุลบุตร ทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ท่านสุภัททะ ได้เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นสักขิสาวกองค์ สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค

จบภาณวารที่ห้า

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์