เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปัจฉิมคาถา พระพุทธเจ้าทรงย้ำพระสูตรสำคัญ ก่อนปรินิพพาน 455
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

ปัจฉิมคาถา สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โภชฌงค์ ๗
มรรคมีองค์ ๘ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ มหาประเทศ ๔



 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้า ๙๙ - ๑๐๑

ปัจฉิมคาถา

             
ดูกรอานนท์ เราได้บอกเธอไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจ ทั้งสิ้นต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรัก ของ ชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่ง แล้ว มีความทำลาย เป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้น อย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้ ก็สิ่งใดที่ตถาคต สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ววางแล้ว อายุสังขารตถาคต ปลงแล้ว วาจาที่ตถาคต กล่าวไว้โดย เด็ดขาดว่าความ ปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือน แต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพานอันตถาคตจะกลับคืน ยังสิ่งนั้น เพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักเข้าไปยังกุฏาคารสาลา ป่ามหาวัน

         ท่านพระอานนท์รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยท่าน พระอานนท์เสด็จเข้าไปยังกุฏาคารสาลา ป่ามหาวันครั้นแล้ว รับสั่ง กะท่าน พระอานนท์ว่าไปเถิดอานนท์ เธอจงให้ภิกษุ ทุกรูปเท่าที่อาศัยเมืองเวสาลี อยู่มาประชุม ที่อุปัฏฐานศาลา

         ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี พระภาคแล้ว จึงให้ภิกษุทุกรูป เท่าที่อาศัย เมืองเวสาลีอยู่ มาประชุมที่อุปัฏฐานศาลาแล้วจึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์ยืน เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงทราบกาล อันควรในบัดนี้เถิด

          [๑๐๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลาประทับนั่ง บนอาสนะที่ เขาจัดถวาย ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งธรรม เหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี  โดยประการที่ พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ของชน เป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ธรรมที่เรา แสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง เหล่านั้นเป็นไฉน คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โภชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
(ถ้ามีอิทธิบาท ๔ จะครบองค์
โพธิปักขิยธรรม ๓๗)

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง..

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความ ไม่ประมาทให้ถึง พร้อมความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีก สามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน

         พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส พระคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

          [๑๐๘] คนเหล่าใด ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมี ความตาย เป็นเบื้องหน้า ภาชนะดินที่นายช่าง หม้อกระทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น

         พระศาสดาได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิต ของเรา เป็นของน้อย เราจักละพวกเธอไป เรากระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล อันดีเถิด จงเป็นผู้มี ความดำริ ตั้งมั่นดีแล้ว ตามรักษาจิตของตนเถิด ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาท อยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้

          [๑๐๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จ เข้าไปยังเมืองเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมือง เวสาลีแล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเมืองเวสาลี เป็นนาคาวโลก แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ การเห็นเมืองเวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็น ครั้งสุดท้าย

มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักไปยังบ้าน ภัณฑคาม

         ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้นพระผู้มี พระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอ จึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ๔ ประการเป็นไฉน

         เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด ศีลอันเป็นอริยะ เราและพวก เธอจึงเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป สิ้นกาลนาน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด สมาธิอันเป็นอริยะ ... ปัญญาอันเป็นอริยะ ... วิมุตติอันเป็น อริยะ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไป สิ้นกาลนานอย่างนี้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะสมาธิอันเป็น อริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุตติอันเป็นอริยะแล้ว ตัณหาในภพเราถอนเสียแล้ว ตัณหา อันจะนำ ไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณ ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

          [๑๑๐] ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม อันพระโคดม ผู้มียศตรัสรู้แล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรมแก่ ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดา ผู้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ มีพระจักษุ ปรินิพพานแล้ว

          [๑๑๑] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับ ณ บ้านภัณฑคามนั้น ทรงกระทำธรรมีกถา
นี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา
     สมาธิ อันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
     ปัญญา อันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
     จิต อันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ โดยชอบ
     คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

          [๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้าน ภัณฑคามแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักไปยัง บ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึง โภคนคร แล้วได้ยิน ว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง มหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัส ดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(1)
          [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้า ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำ สั่งสอน ของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น
          ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มี พระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมา ผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึง ทิ้งคำกล่าวนั้นเสียถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงใน พระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาค แน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศ ข้อที่หนึ่ง นี้ไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(2)
          [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อม ทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมา เฉพาะหน้า สงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้ เป็นวินัยนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่ พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
          ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน พระสูตร ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอน ของพระผู้มี พระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง คำกล่าวนั้น เสีย ถ้าเมื่อ สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระ สูตรได้ เทียบเคียง ในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาค แน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมา ถูกต้องแล้ว
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ มหาประเทศ ข้อที่สองนี้ไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(3)
          [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ ผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็น ธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
          ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน พระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาค แน่นอน และพระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง คำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงใน พระวินัยได้ พึงถึงความตกลง ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ ของพระผู้มีพระภาค แน่นอน และ พระเถระเหล่านั้นจำมาถูกต้องแล้ว
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ มหาประเทศ ข้อที่สามนี้ไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(4)
          [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ ผู้เป็นเถระ อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรง วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน ของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าว ของภิกษุนั้น
           ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ใน พระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียง ในพระวินัย ลงใน พระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอ พึงทิ้งคำ กล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงใน พระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงใน พระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาค แน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ มหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์