เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทรงห้ามเหยียบแผ่นผ้า และ อนุญาตให้เหยียบผ้าสำหรับเช็ดเท้าที่ล้างแล้ว 448
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้า 31

ทรงห้ามเหยียบแผ่นผ้า และ
อนุญาตให้เหยียบผ้าสำหรับเช็ดเท้าที่ล้างแล้ว



             [๑๒๒] ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วทรง ถือบาตร จีวร เสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ก็แลเวลานั้น โพธิราชกุมาร กำลังประทับรอพระผู้มี พระภาคอยู่ที่ซุ้มพระทวารชั้นนอก ได้ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล

            ครั้นแล้วเสด็จไปรับแต่ที่ไกลนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ให้เสด็จไป ข้างหน้า ทรงดำเนิน ไปทางโกกนุทปราสาท พระผู้มีพระภาคได้ประทับยืนอยู่ใกล้ บันไดขั้นแรก จึงโพธิราชกุมาร กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงเหยียบผ้า ขอพระสุคตจงทรง เหยียบผ้า เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้า พระพุทธเจ้า สิ้นกาลนาน เมื่อโพธิราชกุมาร กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงดุษณีภาพ

แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม

             โพธิราชกุมารกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรง เหยียบผ้า ขอพระสุคตจงทรงเหยียบผ้า เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้า พระพุทธเจ้า สิ้นกาลนาน

            ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูท่านพระอานนท์ จึงท่านพระ อานนท์ ได้ถวายพรแก่โพธิราชกุมารว่า จงม้วนผ้าเถิดพระราชกุมาร พระผู้มีพระภาคจัก ไม่ทรง เหยียบผ้า พระตถาคตทรงอนุเคราะห์หมู่ชนชั้นหลัง@

            จึงโพธิราชกุมารรับสั่งให้ม้วนผ้า แล้วให้ปูอาสนะ ณ เบื้องบนโกกนุท ปราสาท ครั้นพระผู้มี พระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะ ที่ปูถวาย พร้อม ด้วยภิกษุ  สงฆ์ จึงโพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ด้วย ขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ จนพระ ผู้มีพระภาค เสวยแล้ว ทรงลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พระผู้ มีพระภาคทรงชี้แจงให้โพธิราช กุมาร เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เสด็จ ลุกจากอาสนะ เสด็จกลับ ฯ

@ ทรงอนุเคราะห์คนรุ่นหลัง
อรรถกถาอธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบผ้าเพราะเหตุ ๓ ประการ คือ เพื่อมิให้โพธิราชกุมารถือผิด โพธิราชกุมารได้ฟังมาว่า “ผู้ที่กระทำสักการะแก่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายแล้ว จะได้สิ่งที่ ปรารถนาสมใจ” จึงตั้งความปรารถนาว่า “ถ้าเราจะได้บุตร พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าจะทรง เหยียบผ้าที่เราปู ถ้าไม่ได้บุตร ก็จะไม่ทรงเหยียบ” แล้วจึงปู พระผู้มีพระภาคดุษณีภาพ รำพึงว่าพระกุมารต้องการอะไรจึงกระทำสักการะมากมาย” ได้ทรงทราบว่าปรารถนาบุตร แต่โพธิราช กุมารจะไม่มีบุตรเพราะผลกรรมที่ตนกับมเหสี กินลูกนกในชาติก่อน จึงไม่ทรงเหยียบผ้า ถ้าพระผู้มีพระ ภาคทรงเหยียบผ้าแล้ว ภายหลังโพธิราชกุมารไม่มีบุตร ท่านก็จะถือผิดว่า “ที่ได้ฟังมาว่าผู้ที่กระทำ สักการะแก่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายแล้วจะได้สิ่ง ที่ตนปรารถนา เราเองก็ได้ตั้งความปรารถนากระทำ

......................................................................................................................................

ทรงห้ามเหยียบแผ่นผ้า
(พระวินัย)

             [๑๒๓] หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ  เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ  ทั้งหลาย  ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบต้องอาบัติทุกกฏ

             [๑๒๔] สมัยต่อมา สตรีผู้หนึ่งปราศจากครรภ์ นิมนต์ภิกษุทั้งหลายไป   ปูผ้าแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงเหยียบผ้า ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่เหยียบ นางได้กล่าวอีกว่าท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงเหยียบผ้า เพื่อประสงค์ ให้เป็นมงคล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่เหยียบจึงสตรีผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อเขาขอเพื่อประสงค์ให้เป็นมงคล ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงไม่เหยียบผืนผ้าที่ปูให้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลายคฤหัสถ์   ต้องการมงคล เราอนุญาตให้ผู้ที่ถูก คฤหัสถ์ ขอร้องให้ เหยียบเพื่อความเป็นมงคล เหยียบผืนผ้าได้

             [๑๒๕] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะเหยียบผ้าสำหรับเช็ดเท้า ที่ล้างแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย    เราอนุญาตให้ เหยียบผ้า สำหรับเช็ดเท้าที่ล้างแล้ว

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์