ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗๔
สุขวรรค
สุขของปุถุชน กับ สุขของอริยะเจ้า
|
สุขวรรค สรุปย่อ |
|
สุขของปุถุชน |
สุขของอริยะเจ้า (สุขที่เป็นเลิศ) |
1 |
สุขของคฤหัสถ์ ๑ |
สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ |
2 |
กามสุข ๑ |
เนกขัมมสุข ๑ |
3 |
สุขเจือกิเลส ๑ |
สุขไม่เจือกิเลส ๑ |
4 |
สุขมีอาสวะ ๑ |
สุขไม่มีอาสวะ ๑ |
5 |
สุขอิงอามิส ๑ |
สุขไม่อิงอามิส ๑ |
6 |
สุขของปุถุชน ๑ |
สุขของพระอริยเจ้า ๑ |
7 |
กายิกสุข ๑ |
เจตสิกสุข ๑ |
8 |
สุขอันเกิดแต่ ฌานที่ยังมีปีติ ๑ |
สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑ |
9 |
สุขเกิดแต่ความ ยินดี ๑ |
สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑ |
10 |
สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ |
สุขที่ถึงสมาธิ ๑ |
11 |
สุขเกิดแต่ฌาน มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ |
สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ |
12 |
สุขที่มีความยินดี เป็นอารมณ์ ๑ |
สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑ |
13 |
สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ |
สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ |
[๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขของคฤหัสถ์ ๑
สุขเกิดแต่บรรพชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ
[๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
กามสุข ๑
เนกขัมมสุข ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดู
กรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ
[๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขเจือกิเลส ๑
สุขไม่เจือกิเลส ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ
[๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขมีอาสวะ ๑
สุขไม่มีอาสวะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ
[๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขอิงอามิส ๑
สุขไม่อิงอามิส ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ
[๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขของพระอริยเจ้า ๑
สุขของปุถุชน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ
[๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
กายิกสุข ๑
เจตสิกสุข ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ
[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขอันเกิดแต่ ฌานที่ยังมีปีติ ๑
สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายสุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นเลิศ
[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขเกิดแต่ความ ยินดี ๑
สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดจากการวางเฉยเป็นเลิศ
[๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขที่ถึงสมาธิ ๑
สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ
[๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขเกิดแต่ฌาน มีปีติเป็นอารมณ์ ๑
สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาสุข ๒อย่างนี้ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขที่มีความยินดี เป็นอารมณ์ ๑
สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาสุข ๒อย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์เป็นเลิศ
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑
สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ
จบสุขวรรคที่ ๒
|