เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อารัญญกสูตรที่ ๙ ท้าวเวปจิตติจอมอสูร และ ท้าวสักกะ จอมเทวดาเข้าพบฤาษี 414
 
(โดยย่อ)
พระสูตรนี้ทำให้ทราบความจริง ว่า

- เทวดา และ อสูร ใส่รองเท้า (ฉลองพระบาท)
- เทวดา และ อสูร สะพายดาบ(พระขรรค์)
- เทวดา และ อสูร มีฉัตร
- เทวดา และ อสูร มีผัสสะทางจมูก (ได้กลิ่นสาบฤาษี)
- เทวดา และ อสูร แสวงหาสัจจะ
- เทวดา และ อสูร เข้าใจว่า ฤาษีคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีลผู้บริสุทธิ์ ละกามได้ (เช่นกลิ่น)
- เทวดา และ อสูร ไหว้ฤาษี


 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕
หน้าที่ ๒๗๒

อารัญญกสูตรที่ ๙


           [๘๙๕] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎี ที่มุงบังด้วยใบไม้ ในราวป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ จอมเทวดา กับ ท้าวเวปจิตติจอมอสูร เข้าไปหาฤาษี ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ถึงที่อยู่

           [๘๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร สวมรองเท้า หนาหลายชั้น สะพายดาบ มีผู้กั้นร่มให้ เข้าไปสู่อาศรมทางทวารอันเลิศ เข้าไปใกล้ ฤาษี ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ห่างไม่ถึงวา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ จอมเทวดา ทรงถอดฉลองพระบาท ประทานพระขรรค์ ให้แก่ผู้อื่น รับสั่งให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางทวารเข้าออก ประทับประคอง อัญชลี นมัสการฤาษี ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น อยู่ใต้ลม

           [๘๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้กล่าว กะ ท้าวสักกะจอมเทวดา ด้วยคาถาว่า กลิ่นของพวกฤาษี ผู้ประพฤติพรต มานาน ย่อมจะฟุ้ง จากกายไปตามลม ดูกรท้าวสหัสนัยน์ พระองค์จงถอยไปเสียจาก ที่นี้ ดูกรท้าวเทวราช กลิ่นของพวกฤาษีไม่สะอาด

           [๘๙๘] ท้าวสักกะ ตรัสตอบว่ากลิ่นของพวกฤาษี ผู้ประพฤติพรตมานาน ย่อมจะฟุ้ง จากกายไปตามลม ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่นนี้ เหมือนกับ บุคคลมุ่งหวัง ระเบียบดอกไม้อันวิจิตร งดงาม บนศีรษะ ฉะนั้น ก็พวกเทวดาหามีความ สำคัญในกลิ่น ของผู้มีศีลนี้ว่าเป็นกลิ่นปฏิกูลไม่


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์