เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สัทธานุสารี และ ธัมมานุสารี บุคคล (ผู้เข้าสู่กระแสแห่งธรรม) 409
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้า ๒๔๖


โอกกันตสังยุต
ว่าด้วยสัทธานุสารี และ ธัมมานุสารี บุคคล

๑. จักขุสูตร (อายตนะภายใน)
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................
สัทธานุสารี ธัมมานุสารี ผลที่ได้รับ
1 เป็นผู้ที่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
2 เป็นผู้ที่หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
3 เป็นผู้ที่ล่วงพ้นปุถุชนภูมิ (เข้าสู่ความเป็นอริยะ)
4 ผู้นั้นไม่อาจที่จะกระทำกรรม ที่ทำให้เข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย
5 ไม่อาจทำกาละ(ตาย) ก่อนแต่ที่จะได้ความเป็นโสดาบัน

..................................................................................................................................................

๒. รูปสูตร
(อายตนะภายนอก)
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๐] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูปไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
เสียงไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กลิ่นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
รสไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
โผฏฐัพพะไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด. เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๑] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯดู กรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณ อย่างนี้ แก่ผู้ใด.

เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่ตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๔. ผัสสสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯมโนสัมผัสไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสสชาเวทนา ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชา เวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชา เวทนา ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่น ไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญาธรรมสัญญา ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๗. เจตนาสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสัญเจตนาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธรรมสัญเจตนาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏธัพพตัณหาฯลฯ ธรรมตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
ความหมาย
รูปตัณหา(อยากได้รูป) สัททตัณหา(อยากได้เสียง) คันธตัณหา(อยากได้กลิ่น) รสตัณหา (อยากได้รส) โผฏธัพพตัณหา(อยากได้สัมผัส) ธรรมตัณหา(อยากได้ตามที่คิดนึก)
...................................................................................................................................................

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อากาสธาตุ ฯลฯ วิญญาณ ธาตุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
...................................................................................................................................................

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล

          [๔๗๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควร เพื่อทำกรรม ที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญาโดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด.
เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

จบ โอกกันตสังยุต.

................................................................................................................................................

(โดยย่อ)
ว่าด้วยสัทธานุสารี และ ธัมมานุสารีบุคคล

๑. จักขุสูตร (อายตนะภายใน)
จักษุไม่เที่ยง หูไม่เที่ยง จมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา
๒. รูปสูตร (อายตนะภายนอก)
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง
๓. วิญญาณสูตร
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ  ชิวหาวิญญาณ  กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง
๔. ผัสสสูตร
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ไม่เที่ยง
๕. เวทนาสูตร
จักขุสัมผัสสชาเวทนา  สัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา  มโนสัมผัสสชาเวทนา ไม่เที่ยง
๖. สัญญาสูตร
รูปสัญญาไม่เที่ยง สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญาธรรมสัญญา ไม่เที่ยง
๗. เจตนาสูตร
รูปสัญเจตนาไม่เที่ยง สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนาไม่เที่ยง
๘. ตัณหาสูตร
รูปตัณหาไม่เที่ยง(อยากได้รูป) สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏธัพพตัณหา ธรรมตัณหา ไม่เที่ยง
๙. ธาตุสูตร
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง
๑๐. ขันธสูตร
รูป เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณไม่เที่ยง

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์