เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็นไปไม่ได้ 171  
 

ชุด 5 เล่ม จากพระโอษฐ์

การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็นไปไม่ได้

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า
“ฉันไม่ต้องทำพื้นฐานราก ในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้

นี่ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ฉันใด ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น

คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ
คือ ความจริงเรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์
และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความ สิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า
“ฉันต้องทำฐาน-รากของ เรือน ตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้
นี่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันใด ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น

คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า
“ฉันครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึงจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

“นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-๖.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง
เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุ ท.! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท.!
เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจ คือ ทุกข์
อริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์
และอริยสัจ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้

ภิกษุ ท.! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์. ความดับไม่เหลือของทุกข์ และ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นความจริงที่เราและพวกเธอทั้งหลาย รู้ถึง และแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไป หมด

บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ดังนี้.
(สูตรอื่นได้ตรัสเหตุที่ทำให้ ต้องท่องเที่ยวไปสังสารวัฏ เพราะไม่รู้อริยธรรมสี่ ดังต่อไปนี้

ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรม ๔ ประการ
เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้.

ธรรม ๔ ประการอย่างไหนเล่า ? ภิกษุ ท.!
เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด
ซึ่ง
อริยศีล
ซึ่ง
อริยสมาธิ
ซึ่ง
อริยปัญญา
ซึ่ง
อริยวิมุตติ
เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยว ไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้.

ภิกษุ ท.! เมื่ออริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ
เป็นธรรมที่เรา และเธอรู้แล้วตามลำดับ แทงตลอดแล้ว
ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพก็สิ้นไปหมด
บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีกมิได้มี ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑/๑. — with Ae Mueller and อริยสัจ จากพระโอษฐ์.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความมืดบอดของโลก มีตลอดเวลาที่พระตถาคตไม่เกิดขึ้น

ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงใด ที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ยังไม่ บังเกิดขึ้นในโลก;
ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่าง อันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี
ตลอดกาลเพียงนั้น.

ในกาลนั้น มีอยู่แต่ความมืด เป็นความมืด ซึ่งกระทำความบอด.
กลางคืนกลางวัน ก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหรือ กึ่งเดือน ก็ไม่ปรากฏ
ฤดูหรือปี ก็ไม่ปรากฏ ก่อน.

     ภิกษุ ท.! แต่ว่าในกาลใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก
ในกาลนั้น ความปรากฏ แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง
ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมี.

ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด.
ลำดับนั้น กลางคืน กลางวัน ย่อมปรากฏ. เดือนหรือกึ่งเดือน ย่อมปรากฏ
ฤดูหรือปี ย่อมปรากฏ นี้ฉันใด

    ภิกษุ ท.! ข้อนี้ ก็ฉันนั้น ตลอดกาลเพียงใด ที่ตถาคตผู้อรหันต- สัมมาสัมพุทธะ
ยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่าง อันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น. ในกาลนั้น มีอยู่

แต่ความมืด เป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด. การบอก การแสดง การบัญญัติ
การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่ง อริยสัจทั้งสี่ ก็ยังไม่มีก่อน.

    ภิกษุ ท.! แต่ว่า ในกาลใดแล ตถาคตผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะ บังเกิดขึ้นโลก
ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่าง อันใหญ่หลวง ย่อมมี.

ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่ง กระทำความบอด.
ลำดับนั้น ย่อมมีการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย
การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจทั้งสี่. ซึ่งอริยสัจทั้งสี่อย่างไรเล่า ? คือซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

    ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า "นี้ ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย นี้ ทุกขนิโรธ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้เถิด.

- มหาวาร. ส์. ๑๙/๕๕๓/๑๗๒๑.

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์