อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค1 หน้า 112
ความลับของขันธ์๕ (เบญจขันธ์)
1. อัสสาทะ (รสอร่อย)
2. อาทีนพ (โทษ)
3. นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น)
ภิกษุ ท. ! ถ้าหากอัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี
ของสังขารทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เหล่านี้.
ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ อัสสาทะของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี
ของสังขารทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อาทีนพ (โทษ) ของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี
ของสังขารทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย
และในวิญญาณ เหล่านี้.
ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่อาทีนพของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี
ของสังขารทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายในรูป
ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไปได้) จากรูปก็ดี
จากเวทนา ก็ดี จากสัญญาก็ดี จากสังขารทั้งหลายก็ดี และจากวิญญาณก็ดีเหล่านี้ จักไม่ได้ มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารทั้งหลาย และจากวิญญาณ เหล่านี้.
ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ นิสสรณะจากรูปก็ดี จากเวทนาก็ดี จากสัญญา
ก็ดี จากสังขารทั้งหลายก็ดี และจากวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกไปพ้นได้ จากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารทั้งหลาย และจากวิญญาณ, ดังนี้ แล.
จากพระสูตรนี้ มีคำที่สำคัญอยู่ 3 คำ
1. อัสสาทะ (ความอร่อย)
2. อาทีนพ (โทษ)
3. นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น)
|