เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สัตตสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์ 200 ไปหน้า
แรก
 
  (ย่อ)

เหตุที่เรียกว่าสัตว์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไร เล่า ? พระเจ้าข้า !”
ราธะ !
 
- ความพอใจอันใด
 - ราคะอันใด
 - นันทิอันใด
 - ตัณหาอันใด

ที่มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้


สัตว์ หรือสัตตานัง คือ
ฉันทะ ( ความพอใจ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ + มีการติดแล้วข้องแล้ว)
ราคะ (ความกำหนัด ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ + มีการติดแล้วข้องแล้ว)
นันทิ (ความเพลิน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ + มีการติดแล้วข้องแล้ว)
ตัณหา (ความอยาก ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ + มีการติดแล้วข้องแล้ว)
(ทั้งหมดนี้ก็คือ อุปาทาน ความยึดมั่น)



 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๑


สัตตสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์

              [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้า ไป เฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้อง ใน รูปนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์.


เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้ เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.

ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ กระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือน ฝุ่น เหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.

ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ กำหนัด ปราศ จากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชาย หรือ เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ ด้วยมือและเท้า ฉันใด

ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้ เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา ให้เป็น ของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่ง ตัณหา ฉันนั้น นั่นเทียวแล. ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๒.



ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ดังนี้, อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไร เล่า ? พระเจ้าข้า !”

ราธะ !
 - ความพอใจอันใด
 - ราคะอันใด
 - นันทิอันใด
 - ตัณหาอันใด
มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้.

ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เล่นเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินอยู่, ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ; ตราบนั้น พวกเด็กน้อยนั้น ๆ ย่อมอาลัยเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย ที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่า เป็นของเรา ดังนี้.

ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เหล่านั้น มีราคะไปปราศแล้ว มีฉันทะไปปราศแล้ว มีความรักไปปราศแล้ว มีความกระหายไปปราศแล้ว มีความเร่า ร้อนไปปราศแล้ว มีตัณหาไปปราศแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้นแหละพวกเขาย่อมทำเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจาย เรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสีย ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย, อุปมานี้ ฉันใด ;

ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลาย จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จงขจัดเสียให้ถูกวิธี, จงทำให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี, จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี, จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.

ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือนิพพาน ดังนี้ แล.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์